วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ภูมิหลังแห่งการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง


ภูมิหลังแห่งการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง 
ภูมิหลังแห่งการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง อยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2394-25
ในยุคนี้เป็นช่วงเวลาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ความทัน สมัย โดยรับอิทธิพลอารยธรรมตะวันตก เนื่องจากถูกคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก เป็นสมัยที่ประเทศ ไทยพัฒนาการเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติ สมัยนี้เป็นสมัยแห่งการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ การเลิกทาสและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
           รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาว่าประเพณีบางอย่างที่เคยปฏิบัติกันมาแต่เดิม เป็นประเพณีที่ล้าสมัย  จึงโปรดให้ยกเลิกประเพณีดังกล่าว    เช่น   ห้ามราษฎรเข้าใกล้ชิดรวมทั้งมีการยิงกระสุนเวลาเสด็จพระราชดำเนินและบังคับให้ราษฎรปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือน
          ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ.2416 และทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง จึงทรงเริ่มปรับปรุงการปกครองซึ่งเรียกว่า "การปฏิรูปการปกครอง"  แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ตอนต้นรัชกาล  และตอนปลายรัชกาล 
          ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งยกเลิกประเพณีโบราณต่างๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ปรากฏว่าสภาทั้ง 2 ดำเนินงานไปได้ไม่นาน ก็ต้องหยุดชะงักเพราะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่า " วิกฤตการณ์วังหน้า "
           เป็นความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งดำรงตำแหน่งวังหน้า อันเนื่องมาจาก ความหวาดระแวงซึ่งกันและกันจนเกือบจะมีการประทะกันระหว่างกัน ขึ้นในปลาย พ.ศ.2417 แต่ก็สามารถยุติลงได้ 

ภูมิหลังแห่งการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง 

 การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง
ส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า "กระทรวง" แทน และได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
           1.  กระทรวงมหาดไทย                      2.  กระทรวงกลาโหม
           3.  กระทรวงต่างประเทศ                    4.  กระทรวงวัง
           5.  กระทรวงเมือง (นครบาล)               6.  กระทรวงเกษตราภิบาล
           7.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ             8.   กระทรวงยุติธรรม
           9.  กระทรวงธรรมการ                       10.  กระทรวงโยธาธิการ
           11. กระทรวงยุทธนาธิการ  ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงกลาโหม)
           12. กระทรวงมุรธาธิการ   ( ต่อมารวมอยู่ในกระทรวงวัง) 

ส่วนภูมิภาค ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย   มี  การแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ

ภูมิหลังแห่งการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง 
วิกฤตการณ์วังหน้า
ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417-2418 ทรงริเริ่มปฏิรูปปรับปรุงการปกครองประเทศให้ทันสมัย โดยการดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทรงตั้งระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์ (ปัจจุบันคือ กระทรวงการคลัง) เพื่อรวมรวมการเก็บภาษีมาอยู่ที่เดียวกัน ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการเก็บรายได้ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้านายและขุนนางเก่าแก่เป็นอันมาก โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวรสถานมงคลซึ่งเดิมมีรายได้แผ่นดินถึง 1 ใน 3 มีทหารในสังกัดถึง 2,000 นาย และมีข้าราชบริพารเป็นจำนวนมาก และเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ มีการสะสมอาวุธ มีความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า ทั้งยังทรงระแวงว่าจะถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่ได้รับการทรงแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์โดยตรง จนเกือบจะเกิดสงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกเหตุการณ์ขัดแย้งนี้ว่า วิกฤตการณ์วังหน้า
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และเข้าไปคบค้าสนิทสนมกับนายโทมัส น็อกซ์ กงสุลอังกฤษ ประกอบกับในสมัยนั้น อังกฤษคุกคามสยาม ถึงขั้นเรียกเรือรบมาปิดปากแม่น้ำ ทางวังหลวงจึงหวาดระแวง เชื่อว่ามีแผนการจะแบ่งดินแดนเป็นสองส่วนคือ ทางเหนือถึงเชียงใหม่ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าครอง ทางใต้ให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญครอง นัยว่าเมื่อแบ่งสยามให้เล็กลงแล้วจะได้อ่อนแอ ง่ายต่อการเอาเป็นเมืองขึ้น
ความบาดหมางระหว่างพระบรมมหาราชวังและวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงทรงระดมกำลังเพิ่มในวังหน้า กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2417 เกิดอัคคีภัยใกล้กับโรงเก็บดินปืนและโรงก๊าซในวังหลวง ทางวังหน้าจะนำทหารพร้อมอาวุธไปช่วยดับเพลิง แต่วังหลวงไม่อนุญาต กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงระแวงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงกำจัดหรือลิดรอนสิทธิอำนาจของพระองค์ จึงทรงหนีไปอยู่สถานกงสุลอังกฤษ และเรียกร้องให้ข้าหลวงอังกฤษมาช่วยไกล่เกลี่ย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชิญสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและทรงบอกไม่ให้พวกอังกฤษมาแทรกแซง "วิกฤตการณ์วังหน้า" ยุติลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2418

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น