วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร



มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

สงครามระหว่าง ไทย - พม่า ในสมัยพระนเรศวร

ข้อมูลที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นรายละเอียดการศึกสงครามระหว่าง ไทย - พม่า ในสมัยพระนเรศวร ซึ่งทางฝ่ายพม่าได้บันทึกเรื่องราวการสงครามไว้แตกต่างจากหลักฐานทางฝ่ายไทย โดยเฉพาะพระราชพงศาวดารที่ชำระกันในสมัยธนบุรี - รัตนโกสินทร์ โดยพงศาวดารพม่าฉบับนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้ทำการแปลโดย นายต่อ ( หม่องต่อ ) และได้ใช้ชื่อพงศาวดารฉบับนี้ว่า " มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า "

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ฝ่ายพระเจ้ากรุงหงษาวดีก็เสด็จประทับอยู่ที่กรุงอังวะโดยช้านาน 

ขณะนั้นพระนเรศก็ยกกองทัพอยุทธยารวม ๑๒ ทัพ มาช่วยโดยล้าหลัง แต่มีช้างรบมา ๓๐๐ ม้า ๓๐๐๐ พลทหาร ๖๐๐๐๐ เวลานั้นพระนเรศทราบว่าพระเจ้ากรุงหงษาวดีเสด็จขึ้นอยู่ที่กรุงอังวะ พระนเรศหาตามเสด็จไปช่วยทางกรุงอังวะไม่ พระนเรศตรงมาทางกรุงหงษาวดี 
ฝ่ายพระมหาอุปราชผู้รักษากรุงหงษาวดีทรงทราบ พระองค์จึงมีรับสั่งให้ข้าหลวงไปแจ้งความกับพระนเรศว่า บัดนี้พระราชบิดาเสด็จไปตีกรุงอังวะ โดยเหตุนี้ขอพระนเรศตามเสด็จไปยังกรุงอังวะเทอญเมื่อข้าหลวงไปพูดดังนั้นพระนเรศก็ไม่ฟัง พระนเรศตรงยกเข้ามาตีกรุงหงษาวดี 
ฝ่ายพระมหาอุปราชเห็นว่าพระนเรศไม่ซื่อตรงต่อพระองค์ ๆ จึงมีรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการนายทัพนายกองทั้งปวงขึ้นรักษาบนเชิงเทินกำแพงเมือง เวลานั้นครั้นพระนเรศยกมาถึงกรุงหงษาวดีก็ตั้งค่ายล้อมกรุงหงษาวดีไว้ 
ขณะนั้นฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีก็ทรงยกกองทัพกลับยังกรุงหงษาวดีแต่ยังมิทันเสด็จถึง ฝ่ายพระนเรศทราบว่าพระเจ้ากรุงหงษาวดีเสด็จกลับมายังกรุงหงษาวดี พระนเรศก็ไม่อาจจะตั้งค่ายอยู่ที่กรุงหงษาวดีแล้วพระนเรศก็กลับไปทางมุตมะเที่ยวเก็บต้อนพวกราษฎรชายหญิงทั้งฝั่งตวันออกนั้นไปยังกรุงศรีอยุธยาเปนอันมาก 
ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีทรงทราบว่าพระนเรศกระทำดังนั้น พระองค์ก็ทรงจัดให้พระยาจันทร์โตทัพ ๑ แล๊ดต่อเชลอถิงทัพ ๑ พระยาปราณทัพ ๑ ภะยะกามณีทัพ ๑ รวม ๔ ทัพนี้ ช้างรบ ๔๐๐ ม้า ๔๐๐๐ พลทหาร ๕๐๐๐๐ มีรับสั่งให้รีบยกจากกรุงอังวะไปตามตีพระนเรศ 
ครั้นพระองค์ทรงจัดให้กองทัพยกไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จลงมากรุงหงษาวดี ครั้นเสด็จถึงกรุงหงษาวดี พระองค์ทรงพระดำริห์เห็นว่ากองทัพที่ยกไปตีพระนเรศนั้นยังน้อยนัก พระองค์จึงทรงจัดให้สมิงลครอินทัพ ๑ ราชสังจรันทัพ ๑ สมิงแรสังรันทัพ ๑ นันทจอถิงทัพ ๑ พระญาลอทัพ ๑ ศิริธรรมโสกทัพ ๑ พระมหาอุปราชพระราชโอรสทัพ ๑ รวม ๗ ทัพนี้ ช้างรบ ๕๐๐ ม้า ๕๐๐๐ พลทหาร ๗๐๐๐๐ ครั้นทรงจัดเสร็จแล้วมีรับสั่งให้รีบยกไปบรรจบกับพระยาจันโตซึ่งยกไปก่อนนั้นครั้นกองทัพยกไปถึงตำบลบ้านจุกครีฝั่งเหนือกรุงศรีอยุธยาก็ตั้งค่ายลงที่ตำบลจุกครีนั้น 
ฝ่ายพระนเรศทราบก็ยกพลทหารออกมาตีกองทัพกรุงหงษาวดี ๆ เสียทีก็แตกย่นลงมา กิติศัพท์อันนั้นทรงทราบไปถึงพระเจ้ากรุงหงษาวดี ๆ ทรงดำริห์เห็นว่ากรุงศรีอยุทธยานี้ ซึ่งจะตีเอาโดยง่ายนั้นไม่ได้ประการหนึ่งพลทหารที่ยกไปนี้ก็ยังน้อยนักแลจวนฤดูฝนจะลงแล้วด้วยครั้นพระองค์ทรงพระดำริห์ดังนั้นแล้ว พระองค์ก็มีรับสั่งให้มหาอุปราชพระราชโอรสยกกองทัพกลับยังกรุงหงษาวดี 
ฝ่ายพระนเรศทราบว่ากองทัพกรุงหงษาวดีกลับก็มีความยินดีแล้วพูดว่าบัดนี้อุปราชกลับแล้ว ถ้าสืบไปความที่เราคิดไว้นั้นคงจะสำเร็จตามความประสงค์เราเปนแน่แท้ 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ครั้นถึงเดือน ๕ จุลศักราช ๙๔๗ พระเจ้าหงษาวดีทรงจัดให้กองทัพยกไปตีกรุงศรีอยุทธยาอีก ด้วยพระองค์ทรงจัดให้แล๊ดเชจอถิงทัพ ๑ พระยาจันโตทัพ ๑ ภะยะกามณีทัพ ๑ พระยาลอทัพ ๑ นันทจอถิงทัพ ๑ พระยาปราณทัพ ๑ นันทสุริยทันทัพ ๑ สมิงสังจายทัพ ๑ ศิริเชยะจอถิงทัพ ๑ พระยาพาตทัพ ๑ ศิริธรรมโสกทัพ ๑ ทางเมืองเชียงใหม่นั้น คือพระยาแสนหลวงทัพ ๑ พระยาสันลันทัพ ๑ พระยาน่านทัพ ๑ สมิงพลีทัพ ๑ สมิงแรสังรันทัพ ๑ สมิงลครอินท์ทัพ ๑ พระยาตุไรทัพ ๑ มหาอุปราชทัพ ๑ รวม ๑๙ ทัพ ๆ นี้ช้างรบ ๑๐๐๐ ม้า ๑๑๐๐๐ พลทหาร ๑๐๒๐๐๐ ครั้นทรงจัดเสร็จแล้วทรงให้ยกไปตีกรุงศรีอยุทธยา ครั้นยกไปถึงตำบลละคร 
ฝ่ายพระนเรศเจ้าอยุทธยาทราบจึงจัดพลทหาร รวม ๑๑ ทัพ ยกออกมารับ 
ฝ่ายนันทะจอถิง ภะยะกามณี พระยาจันโต แล๊ดเชจอถิง ๔ ทัพนี้ได้แยกกันออกตีกองทัพพระนเรศ ทัพหน้าพระนเรศทนไม่ได้ก็แตกย่นลงไปถึงที่ตำบลจุกครี ฝ่ายพลทหารกรุงหงษาวดีเห็นว่าได้ทีก็ตามตีก็จับช้างของพระนเรศไว้ได้ ๓๐ เศษ กับพลทหาร ๒๐๐๐ เศษ 
ฝ่ายพระนเรศก็เข้าตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลจุกครีในค่ายเก่าของพม่าที่ยกกองทัพมาครั้งก่อนนั้น จึงได้ตั้งค่ายทัน 
ฝ่ายพลทหารกรุงหงษาวดีก็เข้าตีค่ายพระนเรศครั้งหนึ่งสองครั้งก็ไม่ได้ เพราะทนลูกกระสุนปืนของพระนเรศไม่ไหวจึงต้องถอยมาตั้งมั่นอยู่ ครั้นตั้งอยู่ที่นั่นประมาณเดือน ๑ พระมหาอุปราชก็มีรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการนายทัพนายกองทั้งปวงเข้าเฝ้าแล้วทรงตรัสว่าบัดนี้เราได้เข้าตีกองทัพอยุทธยาก็ไม่แตก กองทัพอยุทธยาก็ไม่ออกมาตีซึ่งตั้งมั่นอยู่เช่นนี้ เราเห็นว่าถ้าตั้งอยู่เช่นนี้ช้านานเห็นจะไม่ได้เพราะเสบียงอาหารเบาบางน้อยลงแล้ว พวกบรรดาพลทหารก็จะได้ความลำบากอดอยากเปนแน่ ภายหลังจะถอยทัพก็จะเปนที่ลำบาก 
เพราะฉนั้นเราจะรออยู่เช่นนี้ไม่ได้ จะได้จะเสียประการใดก็รีบยกตีเสียโดยด่วนจึงจะสำเร็จราชการเร็ว 
เมื่อพระองค์ทรงรับสั่งดังนั้นพระยาแสนหลวงทูลว่า บัดนี้ถ้าฝ่ายเราจะเข้าตีกองทัพอยุทธยาเล่าข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าค่ายของอยุทธยานั้นแน่นหนามั่นคงนัก ประการหนึ่งคูก็กว้างขวาง สาตราอาวุธก็มาก แล้วฝ่ายทหารนายทัพนายกองของเขาก็แข็งพร้อมมือกันไม่คิดแก่ชีวิตร์ แลที่จะตายนั้นเขาไม่กลัว เขากลัวแต่นายของเขาเปนกำลัง บัดนี้ที่พระองค์รับสั่งจะออกรบนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า คงไม่มีไชยชะนะเปนแน่ เพราะเปนบ้านเมืองของเขาเขาจะไม่ออกรบ ฝ่ายเราก็ไม่รู้ที่จะทำอย่างไรดุจเข็นครกขึ้นเขา ประการหนึ่งเวลานี้เสบียงอาหารก็เบาบางน้อยลงแล้ว โดยเหตุนี้ขอพระองค์ล่าทัพถอยจึงจะควร 
เมื่อพระยาแสนหลวงทูลดังนั้น มหาอุปราชก็เห็นชอบด้วย แล้วพระองค์ก็ทำเปนจะล่าทัพฬอให้พระนเรศตามตี ในเวลานั้นพระองค์ทรงจัดให้ภะยะกามณี ๑ นันทจอถิงทัพ ๑ สมิงแรสสังทัพ ๑ สมิงลครอินทัพ ๑ พระยาแสนหลวงทัพ ๑ รวม ๖ ทัพ ๆ นี้ช้างรบ ๓๐๐ ม้า ๔๐๐๐ พลทหาร ๖๐๐๐๐ ให้ตั้งคอยตีกองทัพพระนเรศฝ่ายขวา แล้วพระองค์ทรงจัดให้พระยาปราณทัพ ๑ นันทศิริยทัพ ๑ สมิงมังจายะทัพ ๑ ศิริธรรมโสกทัพ ๑ พระยาน่านทัพ ๑ รวม ๖ ทัพ ๆ นี้ช้างรบ ๓๐๐ ม้า ๔๐๐๐ พลทหาร ๖๐๐๐๐ ให้ตั้งคอยตีกองทัพพระนเรศฝ่ายซ้าย 
ครั้นแล้วพระองค์ทรงจัดให้แล๊ดเชจอถิงทัพ ๑ พระยาปรีทัพ ๑ ศิริไชยจอถิงทัพ ๑ พระยาพาตทัพ ๑ พระยาตุไรทัพ ๑ พระยาสังรันทัพ ๑ มหาอุปราชทัพ ๑ รวม ๗ ทัพๆ นี้มีช้างรบ ๔๐๐ ม้า ๑๐๐๐ พลทหาร ๖๐๐๐๐
ฝ่ายพระนเรศเห็นว่า กองทัพกรุงหงษาวดีกลับก็ยกตามตี ครั้นใกล้ก็เห็นกองทัพขวาภะยะกามณีตีเข้ามา แต่เจ้าอยุทธยาหามาตีกองขวาไม่ กลับตลบไปตีกองซ้าย ฝ่ายพระยาปราณ แลนันทจอถิง ทนฝีมือกองทัพอยุทธยาไม่ได้ ก็แตกระส่ำระสายไม่เปนขบวน แล้วพระนเรศเลยเข้าตีกองกลาง ๆ ก็แตก กับเลยไปตีภะยะกามณีกองขวาทนฝีมือภะยะกามณีไม่ได้ แล้วเห็นว่ากองทัพภะยะกามณีแน่นหนานักพระนเรศก็ถอย ในขณะนั้นพระนเรศก็เข้าจับพลทหารแลช้างม้ากรุงหงษาวดีที่แตกอยู่นั้นกลับไปยังค่าย 
ฝ่ายภะยะกามณี ๖ ทัพ ก็เที่ยวเก็บไพร่พลทหารแลช้างม้าที่แตกทัพนั้นรวบรวม แล้วก็เฝ้ามหาอุปราชแล้วพร้อมกันทูลว่า ในคราวนี้ถึงแม้สมเด็จพระเจ้ากรุงหงษาวดีมิได้มีรับสั่งเรียกกลับก็ดี แต่พระองค์ทรงเสด็จกลับเสียก่อนเทอญ เมื่อนายทัพนายกองทูลดังนั้นพระองค์ก็ทรงเก็บรวบรวมพลทหารแล้วก็เสด็จกลับกรุงหงษาวดีในเดือน ๙ จุลศักราช ๙๔๘ 
ครั้นเดือน ๔ จุลศักราช ๙๔๘ ปีนั้น พระเจ้ากรุงหงษาวดีพระองค์มีรับสั่งให้ขุนนางทั้งปวงเข้าเฝ้า แล้วพระองค์ทรงตรัสว่า บัดนี้เราได้ใช้พลทหารยกไปตีและปราบปรามพวกขบถอยุทธยาหลายครั้งแล้วก็ยังไม่สำเร็จราชการเลย เพราะฉนั้นพวกเราจะเห็นประการใดที่จะให้อยุทธยาราบคาบเรียบร้อย เมื่อพระองค์ทรงตรัสดังนั้น พระยาจันโตทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ปราบปรามให้กรุงศรีอยุทธยาเรียบร้อยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าพวกบรรดาหัวเมืองเช่นเมืองลาว เมืองล้านช้าง เมืองละโว้ เมืองเวียงจันบุรี ลาวญวน ก็จะกระด้างกระเดื่องแข็งเมืองขึ้นเปนแน่ โดยเหตุนี้ขอพระองค์ทรงเสด็จยกพยุหโยธาทัพใหญ่เปนศึกพระมหากระษัตริย์ไปจึงจะควร ถ้าหาไม่แล้วสืบไปเบื้องหน้าพระเจ้าลูกและพระเจ้าหลานก็จะไม่ได้สืบตระกูลครองราชสมบัติต่อไปเปนแน่ อนึ่งพระราชบิดาของพระองค์ที่สวรรคตนั้น พระองค์ได้ทรงเที่ยวตีเมืองใหญืและเมืองน้อยไว้ มิได้เห็นแก่ความลำบากนั้นพระองค์ก็ตั้งพระไทยให้เปนมรฎกแก่พระเจ้าลูกและพระเจ้าหลานเท่านั้น 
เพราะฉนั้นพระองค์ทรงเสด็จยกกองทัพใหญ่ไปปราบปรามพวกขบถ เพื่อจะได้เปนเกียริยศเบื้องหน้าไว้จึงจะควร เมื่อพระยาจันโตทูลดังนั้นพระองค์ทรงเห็นชอบด้วย 
แล้วพระองค์ทรงตรัสให้นันทจอถิงทัพ ๑ สมิงแรสังรันทัพ ๑ พระยาปราณทัพ ๑ แล๊ดเชจอถิงทัพ ๑ พระยาลอทัพ ๑ นันทสุริยะทัพ ๑ ศิริไชยจอถิงทัพ ๑ สมิงนครอินท์ทัพ ๑ ภะยะกามณีทัพ ๑ พระยาพาตทัพ ๑ ศิริไชยนรทาทัพ ๑ สมิงงอฝางทัพ ๑ ราชสังจรันทัพ ๑ แอมอญตราทัพ ๑ เนมะโยจอถิงทัพ ๑ สมิงสังจายะทัพ ๑ ศิริธรรมโสกทัพ ๑ ตองงูบุเรงทัพ ๑ ( ตองงู บุเรงนี้แปลว่ากรม ตองงูนั้นคือเมือง ) สาดอนัดชินหน่องพระราชบุตร์ของตองงูบุเรงทัพ ๑ เกณฑ์ทางฝ่ายเชียงใหม่นั้น คือพระยาแสนหลวงทัพ ๑ พระยาน่านทัพ ๑ พระยาแพร่ทัพ ๑ พระยาตุไรทัพ ๑ แล้วพระองค์ก็ทรงเสด็จด้วยกระบวนใหญ่ ยกไปตีกรุงศรีอยุทธยา แต่ ๒๔ ทัพนี้ช้างรบ ๑๒๐๐ ม้า ๑๒๐๐๐ พลทหาร ๒๕๒๐๐๐ ทรงเสด็จยก ณ วัน ๑ ฯ ๑๒ จุลศักราช ๙๔๘ แต่ที่กรุงหงษาวดีนั้นให้อุปราชพระราชโอรสอยู่รักษากรุง 
ขณะนั้นฝ่ายพระนเรศเจ้าอยุทธยาทราบว่าพระเจ้าหงษาวดีได้ทรงเสด็จยกพยุหโยธาทัพใหญ่มามากมายนัก พระนเรศจึงเที่ยวเก็บเสบียงแลพลทหารแลพลเมืองที่มีฝีมือเอาเข้าในเมืองสิ้น แล้วปิดประตูเมืองลงเขื่อนไว้โดยแน่นหนามั่นคง 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีครั้นเสด็จมาถึงกรุงศรีอยุทธยาก็ทรงจัดให้พลทหารแลนายทัพนายกองทั้งปวงแยกย้ายกันเข้าตีทุกทิศทุกทาง 
ฝ่ายข้างพระนเรศก็ขับให้พลทหารเอาปืนใหญ่น้อยยิงระดมออกมาถูกพลทหารกรุงหงษาวดีล้มตายนับมิถ้วน 
ฝ่ายพระเจ้าหงษาวดีมิอาจสามารถที่จะตีเอาเมืองได้ ก็เปนแต่ล้อมเมืองไว้ แต่การที่ล้อมนั้นก็ล้อมไม่สู้จะเรียบร้อยทั่วถึงกันได้เพราะแม่น้ำทวาราวดีกว้าง ครั้นล้อมอยู่ประมาณ ๔-๕ เดือน พวกบรรดาพลทหารทั้งปวงก็ได้ความลำบากอดอยากแลเจ็บป่วยล้มตายกันขึ้นเปนอันมาก 
ฝ่ายข้างพระนเรศทราบว่าพวกพลทหารข้างกรุงหงษาวดีอดอยากเจ็บป่วยล้มตายแลการที่ล้อมนั้นก็อ่อนแอเบาบางลงมาก พระนเรศจึงได้ยกออกตีบ้าง ยกออกปล้นค่ายบ้าง ครั้นอยู่ได้ ๔-๕ วันยกออกตีอิก พระนเรศเปนแต่ออกตีอยู่ดังนั้น พลทหารกรุงหงษาวดีก็ถูกสาตราอาวุธตายบ้าง อดตายบ้างเปนอันมาก พระเจ้าหงษาวดีพระองค์ทรงเห็นดังนั้น พระองค์จึงรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการทั้งปวงเข้าเฝ้าแล้วทรงตรัสว่าบัดนี้เราได้ยกกองทัพมาตีกรึงศรีอยุทธยานั้นเราเสียทีฝ่ายเดียว การที่เราเสียทีนั้น คือชั้นแรกเราปล่อยให้ข้าศึกเก็บรวบรวมเสบียงอาหารเข้าไว้ในเมืองอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นธรรมดาทัพนั้นข้างฝ่ายหนึ่งถึงแม้ว่าจะน้อยตัวก็ดีถ้าเขามีเสบียงอาหารพอเพียง แลมีที่ตั้งมั่นคงดีแล้วฝ่ายข้างที่ไม่มีเกณฑ์อะไรเปนที่ตั้งนั้นก็ย่อมเสียเปรียบกันอยู่เอง โดยเหตุนี้พวกเจ้าจะคิดทำประการใดจึงจะควร 
เมื่อพระองค์มีรับสั่งถามดังนั้น ในเวลานั้นแล๊ดเชจอถิงกราบบังคมทูลว่า บัดนี้พระองค์ได้มาล้อมกรุงศรีอยุทธยาไว้นั้นประมาณ ๗ เดือน แล้วก็ยังหามีไชยชะนะสักครั้งหนึ่งเลย เพราะค่ายคูประตูหอรบกรุงศรีอยุทธยานี้มั่นคงแข็งแรงนัก ประการหนึ่งเล่าคูเมืองแลแม่น้ำก็กั้นอยู่กว้างและลึกนัก โดยเหตุฝ่ายข้างพระองค์ทำการไม่ถนัด อิกประการหนึ่งเวลานี้พวกพลทหารทั้งปวงก็เจ็บไข้ได้พยาธิ แลอดอยากล้มตายเปนอันมากแล้ว เพราะฉนั้นขอพระองค์ทรงเสด็จกลับยังมหานครเสียก่อน ปีนี้ก็จวนฤดูฝนจะลงแล้ว เมื่อปีหน้าฟ้าใหม่จึงทรงเสด็จยกพร้อมกับพวกเจ้าประเทศราชทั้งปวงเปนพยุหใหญ่มาตีก็จะมีไชยชนะกรุงศรีอยุทธยาเปนมั่นคง 
เมื่อแล๊ดเชจอถิงทูลดังนั้น พระองค์ก็ทรงเห็นชอบด้วย แล้วพระองค์ทรงจัดให้พระยาปราณควบคุมพวกบรรดาพลทหารที่เจ็บป่วยนั้นให้รีบยกไปก่อน แล้วทรงจัดให้นัดชินหน่องราชบุตร์ของตองงูบุเรงเปนทัพหลังสำหรับป้องกัน แต่พระองค์ก็มีรับสั่งให้ทัพหลังตามเสด็จเดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ จุลศักราช ๙๔๙ แต่พระองค์ได้ทรงเสด็จยกตั้งแต่เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ 
ฝ่ายพระนเรศทราบว่าพรเจ้าหงษาวดีเสด็จกลับ พระนเรศจัดพลทหาร ๑๕ ทัพรีบตามตี ครั้นตามมาถึงตำบลบ้านท่าล้อใหม่แถบอันตอ ( แถบอันตอ ๆ นี้ไม่ได้ความ ) พระนเรศก็ทันทัพเข้าก็เข้าตีกองทัพนัดชินหน่อง ๆ ก็กลับตีเอากองทัพพระนเรศถอยกลับไปตำบลบ้านอันตอ แต่พระเจ้าหงษาวดีเสด็จถึงกรุงหงษาวดี ณ วัน ๓ ฯ ๘ จุลศักราช ๙๔๙ 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ครั้นจุลศักราช ๙๕๒ ปี เจ้าประเทศราชเงี้ยวเจ้าฟ้าเมืองก่องเปนขบถ ครั้นพระองค์ทรงทราบ พระองค์จึงมีรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการทั้งปวงเข้าเฝ้า แล้วทรงรับสั่งเรื่องเปนขบถนั้น ศิริไชยนรทากราบบังคมทูลว่า ซึ่งเกิดเปนขบถนี้ ควรจัดให้ยกทัพไปตีเสียกองหนึ่งแต่ที่พระนเรศกรุงศรีอยุทธยาเปนขบถนั้นพระองค์ทรงเสด็จยกไปตีหลายครั้งแล้วก็ยังไม่มีไชยชะนะสักครั้ง 
เพราะฉนั้นข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงปราบปรามให้พวกขบถเหล่านี้ราบคาบแล้ว ไปภายหลังประเทศราชลาวญวนทั้งปวงก็จะกระด้างกระเดื่องขึ้นเปนแน่ โดยเหตุนี้ขอพระองค์ทรงจัดให้ไปตีกรุงศรีอยุทธยาอิกกองหนึ่งจึงจะควร 
เมื่อศิริไชยนรทาทูลดังนั้น พระองค์ทรงเห็นชอบด้วย แล้วพระองค์ทรงจัดให้นัดชินหน่องกับสะโตธรรมราชาพระราชโอรส เปนแม่ทัพคุม ๑๓ ทัพ รวมพลทหาร ๑๐๐๐๐๐ กับช้างรบ ๕๐๐ ม้า ๑๖๐๐๐ สรรพด้วยสาตราอาวุธ ครั้นเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ก็รับสั่งให้ยกไปตีเจ้าฟ้าเมืองก่อง 
แล้วทรงจัดให้มหาอุปราชพระราชโอรสเปนแม่ทัพคุม ๒๔ ทัพ ๆ นี้มีพลทหาร ๒๐๐๐๐ ช้าง ๑๐๐๐ ม้า ๑๒๐๐๐ สรรพด้วยสาตราอาวุธยกไปตีกรุงศรีอยุทธยา ยกเดือน ๑๒ แรม ๑๒ค่ำ
จุลศักราช ๙๕๒ ปี ครั้นยกไปถึงตำบลบ้านลคร พระนเรศนั้นซุ่มอยู่ในป่าด้วยช้างมีกำลัง ๖๐ ตัวกับนายทัพนายกองที่มีฝีมือ ๖๐ คน 
ฝ่ายมหาอุปราชก็ไม่ทรงทราบกลอุบายของพระนเรศก็ขับให้พลทหารเข้าตีกองทัพพระนเรศเป็นสามารถ
ฝ่ายกองทัพพระนเรศก็ทำเป็นแตกถอยฬอไป ฝ่ายกองทัพหงษาวดีเห็นได้ทีก็รุกเข้าไป 
ขณะนั้นฝ่ายพระนเรศเห็นได้ทีก็ออกจากป่าตีกระหนาบเข้ามาทั้ง ๒ ข้างเปนสามารถ กองทัพหงษาวดีทนมิได้ก็แตกทั้ง ๒๔ ทัพ พลทหารที่เจ็บป่วยล้มตายก็เปนอันมาก แล้วพระนเรศก็จับตัวเจ้าภูกามเจ้าพสิมไว้ได้ 
ฝ่ายมหาอุปราชก็หนีเอาตัวรอดไปเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงหงษาวดีแล้วพลทหารที่แตกกระจัดกระจายนั้นก็ไม่อาจสามารถที่จะคุมไปได้ 
ครั้นนายทัพนายกองไปถึงพร้อมพระเจ้ากรุงหงษาวดีก็ทรงพระพิโรธ พระมหาอุปราชก็ต้องโทษ นายทัพนายกองเหล่านั้นก็ต้องโทษที่ถูกประหารชีวิตร์ก็มี 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ในจุลศักราช ๙๕๓ พระเจ้าหงษาวดีพระองค์ทรงราบว่าพระนเรศจะยกพลมาตีกรุงหงษาวดี แล้วพระองค์ทรงรับสั่งว่า ซึ่งพระนเรศจะยกมาตีกรุงหงษาวดีนั้น เพราะฝ่ายเราได้ยกไปตีกรุงศรีอยุทธยามิได้มีไชยชะนะสักครั้งหนึ่งเลย โดยเหตุนี้พระนเรศได้ใจกำเริบจะยกมาตีกรุงหงษาวดี แล้วพระองค์รับสั่งให้นายทัพนายกอง ๓๒ เมืองซึ่งขึ้นในมณฑลเมืองมุตมะนั้นยกไปคอยรับที่ตำบลวังยอ 
ฝ่ายพระนเรศก็ได้จัดให้ออกยาวังเปนแม่ทัพคุม ออกยาสวรรคโลก ๑ ออกยาพิไชย ๑ ออกยาพิศณุโลก ๑ รวม ๔ ทัพ ๆ นี้มีช้างรบ ๔๐๐ ม้า ๔๐๐๐ พลทหาร ๕๐๐๐๐ ครั้นยกมาถึงตำบลวังยอ ฝ่ายกองสอดแนมหงษาวดีทราบจึงได้นำความมาแจ้งแก่แม่ทัพหงษาวดี ๆ ก็ยกไปถึงตำบลวังยอก็ขับให้พลทหารเข้าตีมิได้คิดแก่ชีวิตร์ 
ฝ่ายกองทัพพระนเรศทนฝีมือไม่ได้ก็แตกถึงกับต้องพังกำแพงเมืองหนีไปในคืนวันนั้น พวกกองทัพหงษาวดีก็ตามไปตี ๒-๓ ตำบลก็ไม่ทัน ครั้นแล้วพวกกองทัพหงษาวดีก็กลับมาทูลพระเจ้าหงษาวดีตามเหตุผลที่ได้กระทำยุทธนานั้น พระเจ้าหงษาวดีก็มีพระไทยยินดีเปนอันมาก แล้วพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้พอสมควร ในปีนั้นพระเจ้าหงษาวดีทรงเห็นว่ากำแพงเมืองแลประตูหอรบที่กรุงหงษาวดีนั้นไม่สู้แน่นหนานัก พระองค์จึงมีรับสั่งให้พังกำแพงเมือง แล้วรับสั่งให้ช่างทำกำแพงเมืองและประตูหอรบให้เหมือนแบบกรุงศรีอยุทธยาทุกประการ 
ครั้นเดือน ๑๐ จุลศักราช ๙๕๕ พระเจ้าหงษาวดีพระองค์รับสั่งให้ขุนนางข้าราชการทั้งปวงแลพระมหาอุปราชพระราชโอรสเปนต้นให้เข้าเฝ้า แล้วพระองค์ทรงตรัสว่าพวกเจ้าทั้งหลายนี้เราได้ชุบเลี้ยงให้ยศศฤงฆารเปนอันมาก พวกเจ้าทั้งหลายหาตั้งใจที่จะฉลองพระเดชพระคุณแก่เราไม่ เราได้ใช้พวกเจ้ายกกองทัพเปนพยุหใหญ่ไปตีพระนเรศเด็กน้อยที่กรุงศรีอยุทธยาหลายครั้งก็ไม่มีไชยชะนะแก่พระนเรศเด็กน้อยสักครั้งหนึ่งเลย เพราะพวกเจ้าไปกระทำยุทธนาอ่อนแอพระนเรศจึงมีใจกำเริบ 
เพราะฉนั้นในครั้งนี้พวกเจ้าจงตั้งใจยกพยุหใหญ่ไปตีพระนเรศที่กรุงศรีอยุทธยาอิกเทอญ เราเห็นว่าถ้าพวกเจ้าตั้งใจจริง ๆ แล้วอย่าว่าแต่พระนเรศเล็กน้อยเท่านี้เลย ถึงแม้ยิ่งกว่าพระนเรศหลายเท่าก็ทนฝีมือไม่ได้ เมื่อพระองค์มีรับสั่งดังนั้น พระยาลอจึงกราบบังคมทูลว่า ถ้าจะเปรียบไปแล้วกำลังแลทหารของพระนเรศนั้น ๑๐ ส่วนจะเอาสักส่วนหนึ่งของพระองค์นั้นไม่ได้ก็จริงอยู่ แต่ว่าพระนเรศนี้มีอานุภาพกล้าหาญนัก เมื่อเห็นกองทัพฝ่ายหนึ่งเข้าแล้วพลทหารของพระนเรศมิได้ย่อท้อกลัวเกรงแก่ข้าศึกเลย เขากลัวแต่เจ้าของเขาเท่านั้น เพราะฉนั้นข้างฝ่ายพลทหารของพระองค์จะเอาไชยชะนะนั้นยากนักธรรมดาพลซึ่งจะว่ามากว่าน้อยนั้นไม่ได้ต้องอาไศรยกล้าหาญตั้งใจจริง ๆ จึงจะมีไชยชะนะ โดยเหตุนี้ขอพระองค์ทรงจัดตั้งแลกำชับให้มหาอุปราชพระราชโอรสเปนแม่ทัพให้ใช้โดยกำลังแข็งแรงกล้าหาญในการสงครามจึงจะควร ประการหนึ่งพระราชบุตร์ของพระองค์อิก ๒ พระองค์เปนยกกระบัตร์ทัพเปนปลัดทัพยกไปตีกรุงศรีอยุทธยาด้วยพลเปนอันมากแล้ว ก็เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าจะมีไชยชะนะพระนเรศเปนแน่แท้ 
พระยาลอทูลดังนั้น พระเจ้าหงษาวดีก็ทรงเห็นชอบด้วยแล้วทรงจัดให้มหาอุปราชพระราชโอรสเปนแม่ทัพ ทรงตรัสให้สะโตธรรมราชาพระราชโอรสองค์เล็กเปนปลัดทัพ ทรงตรัสให้นัดชินหน่องเปนยกกระบัตร์ทัพ รวมทั้งสิ้น ๒๖ ทัพ ๆ นี้ช้างรบ ๑๕๐๐ ม้า ๒๐๐๐๐ พลทหาร ๒๔๐๐๐๐ มีรับสั่งให้ยกจากกรุงหงษาวดีไปตีกรุงศรีอยุทธยาใน ณ วัน ๔ ฯ ๑ จุลศักราช ๙๕๕ ครั้นเดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ มหาอุปราชก็เสด็จถึงกรุงศรีอยุทธยา 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ในขณะนั้นมหาอุปราชทรงช้างชื่อภูมิจุน ปีกขวานั้นรับสั่งให้สะโตธรรมราชาพระอนุชาคุมพลทหารคอยตั้งรบ ปีกซ้ายนั้นรับสั่งนัดชินหน่องคุมพลทหารคอยตั้งรบ แล้วรับสั่งให้เจ้าเมืองชามะโยขี่ช้างชื่อป๊อกจ่อไชยะ ๆนี้กำลังตกน้ำมัน ๆ โทรมหน้าถึงกับต้องเอาผ้าปิดหน้าไว้แล้วพระองค์รับสั่งให้คอยอยู่ข้างซ้ายข้างพระที่นั่งของพระองค์ 
ฝ่ายพระนเรศก็ขี่ช้างชื่อพระละภูมิออกมาพร้อมกับพลทหารครั้นยกมาใกล้พระนเรศเห็นมหาอุปราชทรงช้างยืนคอยอยู่ พระนเรศก็ขับช้างตรงเข้าไปจะชนช้างกับมหาอุปราช เวลานั้นเจ้าเมืองชามะโยเห็นพระนเรศตรงเข้ามาดังนั้น ชามะโยก็ขับช้างที่ตกน้ำมันนั้นจะออกรบ พอเปิดผ้าที่ปิดหน้าช้างไว้แล้วไสช้างนั้นเข้าชนกับช้างพระนเรศช้างนั้นหาชนช้างพระนเรศไม่ กลับมาชนช้างทรงของมหาอุปราชเข้า มหาอุปราชก็ไม่เปนอันที่จะรบกับพระนเรศ มัววุ่นอยู่กับช้างที่ตกน้ำมันนั้นเปนช้านาน เวลานั้นพลทหารของพระนเรศก็เอาปืนใหญ่ยิงระดมเข้ามา ลูกกระสุนก็ไปต้องมหาอุปราช ๆ ก็สิ้นพระชนม์ที่คอช้างพระที่นั่งนั้น ในเวลานั้นตุลิพะละพันท้ายขช้างเห็นว่าพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ก็ค่อยประคองพระมหาอุปราชพิงไว้กับอานช้างเพื่อมิให้พระนเรศรู้แล้วถอยออกไป ขณะนั้นพระนเรศก็ไม่รู้ว่ามหาอุปราชสิ้นพระชนม์ พระนเรศจึงไม่อาจจะตามรบ 
ในเวลานั้นนัดชินหน่องซึ่งเปนพระราชอนุชาของมหาอุปราชปีกซ้ายก็ทรงช้างชื่ออุโปสภาเข้าชนกับช้างพระนเรศ ๆ ทนกำลังมิได้ก็ถอย 
ขณะนั้นสะโตธรรมราชาพระอนุชาปีกขวาแลเจ้าเชียงใหม่พระอนุชาของมหาอุปราชก็ช่วยกันตีทัพพระนเรศ เวลานั้นครั้นนายทัพนายกองหงษาวดีเห็นดังนั้นต่างคนต่างก็ช่วยกันตีเข้าไปมิได้คิดแก่ชีวิตร์กองทัพพระนเรศก็แตกถอยไป พวกกองทัพหงษาวดีก็ตามตีเข้าไปถึงคูเมือง พระนเรศก็หนีเข้าเมืองไปได้แล้วก็ตั้งมั่นในเมือง ในเวลาที่รบกันนั้นพลทหารพระนเรศจับตัวนายทหารหงษาวดีไว้ได้ คือ เจ้าเมืองถงโบ่นายทหารปีกซ้ายหนึ่ง ๑ กับเจ้าเมืองวังยอ นายทหาร ๒ คนนี้เพราะตามเลยเข้าไปเขาจึงจับไว้ได้ 
แล้วฝ่ายนายทหารนัดชินหน่องก็จับอำมาตย์ของอยุทธยาไว้ได้ คือ พระยาพาต ๑ พระยาจักร์ ๑ 
ครั้นแล้วพระอนุชา ๓ พระองค์จึงทรงทราบว่าพระมหาอุปราชพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ พระอนุชา ๓ พระองค์ก็มีรับสั่งให้ถอยกองทัพไปจากค่ายเก่าประมาณทาง ๑๐๐ เส้น แล้วตั้งค่ายลง ณ ที่ตำบลนั้น แล้วพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเปนพระอนุชาและพระอนุชา ๒ พระองค์นั้นได้มีรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการนายทัพนายกองเข้าเฝ้าแล้วทรงตรัสว่าจะเอาพระศพของพระมหาอุปราชทำเมรุ ณ ตำบลนี้หรือ ๆ จะเอาพระศพไปยังกรุงหงษาวดี ใครเห็นควรอย่างใดบ้าง 
เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่มีรับสั่งดังนั้นสะโตธรรมราชาซึ่งเปนพระอนุชาทูลว่า บัดนี้พระเชษฐาธิราชก็สิ้นพระชนม์เสียแล้ว 
เพราะฉนั้นเราจะทำยุทธนากับพระนเรศเจ้าอยุทธยาต่อไปนั้นเห็นว่าไม่ควร ประการหนึ่งซึ่งจะกระทำเมรุ ณ ที่ตำบลนี้นั้นก็จะกระไรอยู่ แลเห็นว่าพระราชบิดาก็จะมีความน้อยพระไทยทรงติเตียนได้ 
โดยเหตุนี้ขอเอาพระศพของพระเชษฐากลับไปกรุงหงษาวดีก่อนจึงจะควร อนึ่งในเวลานี้ฝ่ายเราก็ยังมีไชยชะนะอยู่บ้าง ต่อเมื่อสิ้นฤดูฝนจึงยกมาทำยุทธนาการกับพระนเรศพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาอิกก็จะมีไชยชะนะเปนแน่ 
เมื่อสะโตธรรมราชาทูลดังนั้น พระเจ้าเชียงใหม่แลพระเจ้าตองงูและขุนนางข้าราชการนายทัพนายกองทั้งปวงก็เห็นชอบพร้อมกัน 
ครั้นแล้วเอาพระศพมหาอุปราชนั้นใส่ในพระโกษทำด้วยไม้มะม่วงแล้วเอาปรอทกลอกเสร็จแล้วก็เชิญพระศพมหาอุปราชแลยกกองทัพกลับกรุงหงษาวดี
ครั้นใกล้จะถึงกรุงหงษาวดี พระเจ้ากรุงหงษาวดีก็ทรงทราบว่าพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ทรงเสด็จยกกองทัพออกมารับพระศพมหาอุปราชพร้อมกับพระอรรคมะเหษี แล้วพระองค์ได้ทำเมรุใหญ่เปนที่สนุกสนาน แลพระองค์ทรงบำเพ็ยทานพระราชกุศลด้วยพระราชทรัพย์เปนอันมาก ในขณะนั้นพระองค์ทรงพระโทมนัศโศรกเศร้าเปนอันมาก 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ครั้น ณ วัน ๔ ฯ ๓ จุลศักราช ๙๕๕ ทรงตรัสให้อังวะมางแรชะวาพระราชโอรสเปนมหาอุปราชแทน 
ครั้นจุลศักราช ๙๕๖ ผู้รักษาเมืองมรแมนคบคิดกับฝ่ายอยุทธยาเปนขบถ เมื่อพระองค์ทรงทราบดังนั้น พระองค์จึงมีรับสั่งให้ตองงูบุเรงพระราชโอรสเปนแม่ทัพคุมทัพ ๆ นี้เปนช้างรบ ๔๐๐ ม้า ๔๐๐๐ พลทหาร ๘๐๐๐๐ สรรพด้วยสาตราอาวุธให้ยกไปตีพวกขบถ 
ครั้นยกไปถึงพวกบรรดามอญก็เข้าสมทบกับพวกอยุทธยาต่อสู้เปนสามารถ พลทหารพม่าฝ่ายกรุงหงษาวดีทนฝีมือมิได้ก็แตกกระจัดกระจายกลับไปกรุงหงษาวดีสิ้น เมื่อพระองค์ได้ทราบว่าพลทหารของพระองค์ได้แตกหนีมาเช่นนี้ พระองค์ก็ทรงพระพิโรธตองงูมางพระราชโอรสเปนอันมาก แล้วทรงตรัสให้ทำโทษศิริธรรมโสกซึ่งเปนนายทหาร แล้วศิริธรรมโสกก็ถึงแก่กรรม 
ในปีนั้นมางแรชะวามหาอุปราชพระราชโอรสกระทำจุลาจลให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ความเดือดร้อนทุกอกสัตว์ คือรับสั่งไม่ให้ราษฎรทำไร่ทำนา แลเกณฑ์ให้พวกบรรดาราษฎรพม่ามอญเหล่านั้นทำของพระองค์ ครั้นได้เข้าเปนอันมากก็รับสั่งให้เอาขึ้นฉางน้อยใหญ่ไว้เปนอันมาก แล้วออกประกาศบังคับว่าถ้าผู้ใดอดอยากแล้วให้มาซื้อเข้าของพระองค์ ๆ จะลดราคาขายเข้าให้น้อยลงกว่าพวกลูกค้าทั้งปวงแล้วบังคับไม่ให้ซื้อเข้าของพวกลูกค้าอื่นด้วย เมื่อพระองค์ทำดังนั้นพวกราษฎรที่ไม่ได้ทำนานั้นก็อดอยากหนีหายล้มตายเปนอันมาก 
เมื่อสะโตธรรมราชาพระอนุชาเห็นว่าพระเชษฐาทำผิดราชประเพณีดังนั้น ก็ทูลห้ามพระเชษฐา ๆ ก็ไม่ฟังกลับกริ้วหาโทษกับสะโตธรรมราชาพระอนุชา ๆ กับพระมหาอุปราชวังหน้าก็เกิดเปนอริกันตั้งแต่ครั้งนั้นเปนประถม ในปีนั้นสุนัขบ้าชุมเหลือประมาณ พระมหาอุปราชมีรับสั่งให้พลทหารทวนฆ่าสุนัขบ้าเหล่านั้นตายสิ้น 
กิติศัพท์ที่บ้านเมืองเกิดจุลาจลนั้นก็ทราบไปถึงพระเจ้ากรุงหงษาวดี ๆ ก็ทรงพระพิโรธมหาอุปราชเปนอันมาก แล้วทรงรับสั่งให้ราษฎรที่มหาอุปราชกวาดต้อนลงมาจาก ๒ ฟากลำแม่น้ำเอยาวดีนั้นกลับไปทำมาหากินตามภูมิลำเนา พวกราษฎรที่อดอยากหนีซ่อนเร้นอยู่นั้น พระองค์มีรับสั่งให้เข้ามาทำมาหากินอยู่ตามเดิมโดยปรกติ 

มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร

ในจุลศักราชปีนั้นเดือนยี่ พระนเรศเจ้ากรุงศรีอยุทธยาก็ยกพลทหารมารวม ๒๔ ทัพ ช้างรบ ๖๐๐ ม้า ๖๐๐๐ พลทหาร ๑๒๐๐๐๐ ครั้นถึงเมืองมรแมนก็เข้าสมทบกับผู้รักษาเมืองมรแมนซึ่งได้เป็นขบถครั้งก่อนนั้น แล้วพระนเรศกับผู้รักษาเมืองมรแมนก็เข้าบรรจบทัพยกมาตีกรุงหงษาวดี ครั้นถึงกรุงหงษาวดี พระนเรศก็ตั้งค่ายลงมั่นไว้
ในขณะนั้นนายทหารดาบทองของพระเจ้าหงษาวดีที่พระนเรศจับได้เปนเชลยเมื่อครั้งพม่าไปตีกรุงศรีอยุทธยานั้น ก็คอยหาช่องโอกาศที่จะหนีจากค่ายพระนเรศ ครั้นมาวันหนึ่งได้ช่องโอกาศก็พาบ่าวของตัวได้คนหนึ่งก็หนีออกมาได้ แล้วก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษาวดี ๆ มีพระไทยยินดีโปรดปรานเปนอันมาก แล้วทรงเลื่อนยศให้เปนไชยะนันทมิตร์ แล้วพระราชทานเครื่องยศให้เปนอันมาก 
ฝ่ายพระนเรศตั้งค่ายอยู่ที่กรุงหงษาวดีได้ประมาณ ๔ เดือนก็ทราบข่าวว่า พระเจ้าเชียงใหม่ ๑ พระเจ้าปะเย ๑ พระเจ้าตองงู ๑ สามองค์ได้ยกพลทหารเปนอันมากมาช่วยพระราชบิดาที่กรุงหงษาวดีเมื่อพระนเรศทราบเหตุว่ายกพลมาช่วยพระเจ้าหงษาวดีมาก พระนเรศก็เสด็จกลับกรุงศรีอยุทธยาในมหาสงกรานต์ ครั้นเสด็จไปถึงเมืองมุตมะก็เก็บกวาดต้อนพวกมอญที่ฝั่งตวันออกไปกรุงศรีอยุทธยาเปนอันมาก 
ในขณะนั้นพระเจ้าเมืองปะเยสะโตธรรมราชาพระราชโอรสองค์เล็กนั้นเปนขบถ ทำเปนยกพลมาช่วย ครั้นถึงเมืองตองงูทราบว่าพระเจ้าเมืองตองงูไม่อยู่ไปช่วยราชการพระราชบิดาดังนั้น สะโตธรรมราชาก็เข้าตีเมืองตองงู เวลานั้นนัดชินหน่องพระราชบุตร์ของพระเจ้าตองงูก็ปิดประตูลงเขื่อนขับให้พลทหารขึ้นรักษาบนเชิงเทิน แล้วรับสั่งให้เอาปืนใหญ่น้อยยิงระดมลงมา ยิงกันอยู่ได้ประมาณ ๑๕ วันก็ทราบว่าพระเจ้าตองงูเสร็จราชการแล้วเสด็จกลับเมืองตองงู เมื่อสะโตธรรมราชาทราบดังนั้นก็เก็บต้อนราษฎรผู้หญิงโคกระบือได้แล้วก็ถอยกลับไปเมืองน้อยได้ ๖ เมืองแลตีภูกามใหญ่ได้เมืองหนึ่งรวม ๗ หัวเมือง แล้วสะโตธรรมราชาก็ตั้งตัวแข่งเมืองต่อพระราชบิดา 
ครั้นจุลศักราช ๙๕๘ เดือน ๖ ปีนั้นมีหนูข้ามมาจากฝั่งตวันตกมาฝั่งตวันออกเปนอันมาก ขณะนั้นมางแรชะวามหาอุปราชรับสั่งให้พลทหารฆ่าฟันหนูนั้นตายเปนอันมาก ถึงกระนั้นก็ไม่หวาดไหว หนูก็เข้ากินเข้าที่ฉางน้อยใหญ่นั้นบกพร่องหมดลงเปนอันมาก ปีนั้นเข้าปลาเสบียงอาหารแพงเข้าถังหนึ่ง ๑๐๐ บาทก็ยังไม่มีที่ซื้อ 
ขณะนั้นพวกเชลยที่ได้มาจากเมืองล้านช้างรวมประมาณสัก ๑๐๐๐ คนเศษนั้น ได้อดอยากเข้าแพงก็หนีไปเมืองล้านช้าง เมื่อพระองค์ทรงทราบดังนั้นจึงให้พลทหารตามจับ ที่จับได้นั้นมีรับสั่งให้ประหารชีวิตร์เสียสิ้น 
ในเวลานั้นพระองค์ทรงเห็นว่าสะโตธรรมราชาพระราชโอรสของพระองค์แลฝ่ายพระนเรศพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารบกวนบ้านเมืองเหลือที่จะปราบปราม พระองค์จึงมีรับสั่งให้ต้อนพวกราษฎรชายหญิงข้างฝ่ายหัวเมืองทิศเหนือนั้นเข้ามาอยู่ที่กรุงหงษาวดีสิ้น 
ขณะนั้นพระภาคิไนย นัดชินหน่องทูลขอช้างชื่ออุโปสะถะ ข้างฝ่ายเชียงใหม่นั้น มางสาตุลองซึ่งเปนพระปะนัดดาทูลขอช้างชื่อชมภูใจข้างฝ่ายราชบุตร์ยองยันสะขินลัด ซึ่งเปนพระภาคิไนยนั้นทูลขอช้างชื่อชมภูตะชิก ( แปลว่าตราชมภู ) แต่พระองค์ไม่พระราชทานให้ตามทูลขอนั้น พวกพระอนุฃาแลราชโอรสแลพระภาคิไนยเหล่านั้นก็มีความน้อยพระไทยตามกันแล้วกล่าวว่าสะโตธรรมราชาพระราชบุตร์ของพระองค์แล้วยังเปนขบถแข่งเมือง พวกเราจะนั่งนิ่งเช่นนี้ไม่ควร ต้องแข่งเมืองบ้าง ที่เราทูลขอช้างก็เพื่อเอาไว้รักษาบ้านเมืองของพระองค์เท่านั้นเรามิได้เอาไปเปนอณาประโยชน์ของเราเลย เมื่อต่างคนต่างรับสั่งดังนั้นก็แข่งเมืองขึ้น 
ขณะนั้นที่กรุงหงษาวดีเกิดจุลาจลต่าง ๆ ต่างคนต่างแข่งเมืองขึ้นสิ้น พระเจ้ากรุงหงษาวดีมีรับสั่งแก่ขุนนางข้าราชการว่า บัดนี้เราตั้งใจจะให้มางแรชวามหาอุปราชขึ้นครองราชสมบัติต่อไป แต่บัดนี้มหาอุปราชเขาหนีไปเข้าด้วยตองงูบุเรงพระเจ้าอาว์เขานั้นก็สมควรแล้ว 
เพราะฉนั้นเราก็ชราถึงเพียงนี้แล้วเราจะไม่ครองราชสมบัติต่อไปแล้ว เราจะพึ่งแต่บุญบารมีของพระอนุชาเรากว่าชีวิตร์จะหาไม่เมื่อพระองค์ทรงรับสั่งดังนั้นแล้ว พระองค์จึงยกราชสมบัติให้พระอนุชาซึ่งเปนเจ้าเมืองตองงูขึ้นครองราชสมบัติ แต่พระองค์นั้นเสด็จไปประทับอยู่ที่พระตำหนักพระมะเหษี กรุงหงษาวดีให้เสียแก่พระอนุชา ณ วัน ๑ ฯ ๒ จุลศักราช ๙๖๑ 
กิติศัพท์อันนี้ก็ทราบไปถึงพระนเรศ ๆ ก็รีบจัดพลทหาร ๒๔ ทัพยกมาโดยเร็ว 
ฝ่ายตองงูบุเรงพระเจ้าหงษาวดีใหม่ทราบว่าพระนเรศยกพลมาจึงมีรับสั่งให้ขุนนางข้าราชการเข้าเฝ้า แล้วทรงตรัสว่าบัดนี้พระนเรศยกมานั้น เราจะตั้งรบที่กรุงหงษาวดีหรือ ๆ จะยกไปตั้งที่เกตุมดี ( คือเมืองตองงู ) ดี ขณะนั้นขุนนางข้าราชการบางพวกทูลว่า ให้เจ้าเมืองระแขงซึ่งมาช่วยพระองค์นี้กับพลทหารกรุงหงษาวดีบรรจบกันตั้งตีแล้วพระนเรศที่ไหนจะสู้บุญบารมีของพระองค์ได้ เวลานั้นนันทจอถิงทูลว่าซึ่งพระองค์จะให้ตั้งรบที่กรุงหงษาวดีนั้นข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯว่าไม่ควร เพราะเหตุว่ากรุงหงษาวดีนี้พวกมอญมาก แลพวกมอญเหล่านี้ก็เปนน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับพระนเรศ โดยเหตุนี้ขอพระองค์ทรงเสด็จยกไปตั้งรบที่เมืองเกตุมดีจึงจะควร แต่กรุงหงษาวดีนี้ให้เจ้าเมืองระแขงคอยอยู่รักษาป้องกันจึงจะชอบกล 
เมืองนันทจอถิงทูลดังนั้น พระเจ้าหงษาวดีทรงเห็นชอบด้วยพระองค์จึงเก็บรวบรวมพระพุทธรูปแลพระไตรปิฎกกับสมณชีพราหมณ์ราษฎรชายหญิงพม่า แขก สยาม แลทรัพย์สิ่งของทั้งปวงเสร็จแล้ว ก็เสด็จยกไปอยู่ ณ เมืองเกตุมดีสิ้น เสด็จยกจากกรุงหงษาวดี ณ วันขึ้น ๒ ค่ำ เดือนจุลศักราช ๙๖๑ แต่ที่กรุงหงษาวดีนั้นให้เจ้าระแขงอยู่รักษาครั้งเดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ ก็เสด็จถึงเมืองเกตุมดี เมื่องเสด็จถึงนั้นพระองค์รับสั่งให้ซ่อมแซมป้อมค่ายคูประตูหอรบไว้โดยแน่นหนามั่นคงแล้วให้เอาปืนใหญ่น้อยขึ้นรักษาทุกช่องโดยกวดขัน 
ฝ่ายพระนเรศพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาทราบว่าพระเจ้าหงษาวดีเสด็จไปตั้งอยู่ที่เมืองเกตุมดี พระนเรศก็ยกพลตามไป ครั้นถึงตำบลจะวะมะกูจรุณชอง ( แปลงว่าเกาะจะวะมะกู ชองนั้นคือแปลว่าคลอง ) พระนเคศก็ตั้งค่ายใหญ่ลงที่ตำบลนั้นโดยแน่นหนามั่นคง แล้วพระนเรศรับสั่งให้คนถือสารเข้าไปยังพระเจ้าหงษาวดี ใจความว่าซึ่งเราได้ยกพลมานี้ เรามิได้คิดจะรบกับเจ้าตองงูเลย ด้วยเราจะมาขอพระเจ้าหงษาวดีเก่าซึ่งเปนพระเชษฐาของท่านนั้น เพราะเรานับถือพระองค์ดุจเหมือนพระพุทธองค์ ๆ หนึ่ง 
เมื่อพระเจ้าหงษาวดีได้ทราบพระราชสาสน์ดังนั้น จึงได้รับสั่งตอบไปกับผู้ถือสาสน์ว่า เราให้ไปไม่ได้ ซึ่งพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาว่านับถือดุจดังพระนั้นไม่จริง เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใด จะว่าไปเปนพระของเราจึงจะถูก 
ครั้นพระนเรศทรงทราบดังนั้นก็รับสั่งให้พลทหารเข้าตีเมืองเกตุมดี บ้างขุดกำแพงบ้างปีนกำแพงเปนสามารถ 
ฝ่ายข้างพลทหารพระเจ้ากรุงหงษาวดีก็เอาปืนใหญ่น้อยระดมลูกกระสุนปืนก็ถูกพลทหารอยุทธยาล้มตายเปนอันมาก แลทำลายกำแพงเมืองไม่ได้ก็ล้อมไว้ 
ขณะนั้นฝ่ายพระเจ้าเมืองระแข่งทราบว่าพระนเรศยกพลมาเจ้าเมืองระแข่งจึงเอาไฟเผาเมืองหงษาวดีเสีย แล้วเจ้าระแข่งก็ยกพลไปคอยซุ่มอยู่ที่ตำบลลำแม่น้ำที่กองลำเลียงของอยุทธยาจะยกมานั้นครั้นพลทหารกองลำเลียงยกมาถึงที่ซุ่ม เจ้าระแข่งก็ขับให้พลทหารตีกองลำเลียงอยุทธยาแตกแลล่มจมน้ำสิ้น กองลำเลียงเสบียงอาหารก็ส่งไม่ถึงกองทัพพระนเรศได้สักครั้งหนึ่ง พลทหารของพระนเรศก็อดอยากล้มตายเปนอันมาก ครั้นเสบียงอาหารขาดประมาณสักเดือนหนึ่งพระนเรศทนมิได้ก็ยกกองทัพไป 
พระนเรศถอยจากที่ล้อมเมืองเกตุมดีนั้น ณ วัน ๗ ฯ ๖ จุลศักราช ๙๖๒ ครั้นพระนเรศเสด็จยกไปถึงเมืองมุตมะก็เรียกพวกบรรดามอญทั้งปวงมาถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาสิ้น แล้วพระองค์ทรงตั้งให้พระยาทะลเปนอันมาก แล้วรับสั่งให้พระสะแบ๊บรักษาเมืองทวาย เมื่อพระองค์ทรงจัดทางฝั่งตวันออกเมืองมุตมะเรียบร้อยเสร็จแล้วก็เสด็จกลับกรุงศรีอยุทธยา 
ซึ่งพระนเรศทรงเสด็จยกมาตีกองทัพกรุงหงษาวดีครั้งนี้นั้นพระองค์ทรงตั้งพระไทยจะช่วยรบพระเจ้าหงษาวดีองค์เก่าที่ต้องออกจากราชสมบัติ แล้วก็จะถวายแก่พระเจ้าหงษาวดีที่ออกจากราชสมบัตินั้น แต่พระองค์เสด็จยกมาช่วยมิทันถึงกรุงหงษาวดี ๆ ก็เสียแก่พระอนุชาของพระเจ้าหงษาวดี 
เมื่อพระเจ้าหงษาวดีเสด็จกลับถึงกรุงหงษาวดีแล้วนั้น นัดชินหน่องราชบุตร์ของพระเจ้าหงษาวดีองค์ใหม่ทูลกับพระราชบิดาว่า ซึ่งพระองค์จะเอาพระราชสมบัติไว้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าไม่ควร เพราะเหตุว่าเปนหลักตอใหญ่แก่บ้านเมืองอันหนึ่ง เมื่อนัดชินหน่องราชบุตร์ทูลดังนั้น พระองค์ทรงพิโรธแก่ราชบุตร์เปนอันมากแล้วทรงตรัสว่าตั้งแต่วันนี้เจ้าอย่าได้คิดหรืออย่าได้พูดต่อไป เพราะกูนับถือพระเชษฐาของกูดุจเหมือนพระองค์หนึ่ง ที่กูให้พระองค์ออกจากราชสมบัติครั้งนี้นั้นก็มิได้ตั้งใจจะเอาบ้านเมืองเปนประโยชน์ของกู ๆ เห็นบ้านเมืองจะเกิดจุลาจลกูจึงขึ้นครองราชสมบัติชั่วคราว เมื่อกูปราบปรามความยุคเข็ญบ้านเมืองราบคาบเรียบร้อยกูจะถวายคืน 
ครั้นเดือน ๑๒ แรม ๑๐ ค่ำ จุลศักราช ๙๖๒ นัดชินหน่องราชบุตร์ก็แอบแฝงเข้าไปในวังของพระเจ้าลุงโดยเวลากลางคืน ครั้นได้ทีก็เอาพระแสงฟันพระเจ้าหงษาวดีองค์เก่า ๆ ก็สวรรคตในคืนวันนั้นครั้นรุ่งเช้ากิติศัพท์ก็ทราบถึงพระเจ้าหงษาวดีใหม่ ๆ ก็เสียพระไทยเศร้าโศกเปนอันมาก 
เจ้าเมืองระแข่งครั้นเห็นว่าพระนเรศเสด็จกลับกรุงศรีอยุทธยาก็เข้าเฝ้าทูลพระเจ้าหงษาวดี ๆ ก็พระราชทานธิดาของพระองค์ทรงพระนามว่าจินมะหน่องให้กับเจ้าเมืองระแข่งไปตามที่สัญญาไว้แต่เดิม 
ขณะนั้นพระยาทะละเจ้าเมืองมุตมะแลเจ้าเมืองสังเลียงกับเจ้าอยุทธยาเปนพวกเดียวกัน เพราะฉนั้นพระเจ้าหงษาวดีจึงต้องทำพระราชไมตรีไว้กับเจ้าเมืองสังเลียง พระยาทะละเจ้าเมืองมุตมะ 
ครั้น ณ วัน ๓ ฯ ๙ จุลศักราช ๙๗๑ พระเจ้ากรุงหงษาวดีสวรรคต พระชนม์ ๕๘ พรรษา ทรงพระนามพระเจ้าธรรมราชา 
เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วนัดชินหน่องราชบุตร์ขึ้นครองราชสมบัติ ณ วัน ๑ ฯ ๙ จุลศักราช ๙๗๑ ทรงพระนามว่าสีหสูร แล้วเสด็จไปสร้างพระราชวังอยู่ที่กรุงอังวะ 
ครั้นจุลศักราช ๙๗๔ พระเจ้าอยุทธยาพระนเรศทรงเสด็จยกกองทัพ ๒๐ ทัพ ยกมาทางเชียงใหม่จะไปตีเมืองอังวะ ครั้นเสด็จมาถึงเมืองแหนแขวงเมืองเชียงใหม่ก็ทรงประชวนโดยเร็วพลันก็สวรรคตในที่นั้น 




มหาราชวงศ์พงศาวดารพม่า ในสมัยพระนเรศวร
วิชัย พรหมเมตตา

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519


ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519


               
    

ลำดับเหตุการณ์กรณี 6 ตุลาคม 2519

มิถุนายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

สุธรรม แสงประทุม ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในช่วงนั้นได้มีการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังก้าวเดินไปสู่ความเลวร้ายทุกขณะ โดยมีการทำลายล้างทั้งการโฆษณาและวิธีการรุนแรง แต่กลับทำให้ขบวนการนักศึกษาเติบใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดูจากผลการเลือกตั้งกรรมการนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ประจำปี 2519 นักศึกษาฝ่ายก้าวหน้าได้รับชัยชนะเกือบทุกสถาบัน

27 มิถุนายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

กิตติวุฒโฑภิกขุ ให้สัมภาษณ์ น...จัตุรัส ว่า การฆ่าคนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ถือเป็นบุญกุศลเหมือนฆ่าปลาแกงใส่บาตรพระ

2 กรกฎาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

กรรมการ ศนท. นัดพบประชาชนที่สนามหลวง การชุมนุมครั้งนี้มีคนถูกปาด้วยเหล็กแหลมและก้อนหินจนบาดเจ็บหลายคน สุธรรมกล่าวในการชุมนุมว่ากรรมการ ศนท.ชุดนี้อาจจะเป็นชุดสุดท้าย แต่ก็พร้อมยืนตายคาเวทีต่อสู้

ในช่วงนั้น ที่ทำการ ศนท. ในตึก ก... ถูกล้อมและขว้างปาหลายครั้ง และยังเคยมีคนมาติดต่อกับกรรมการ ศนท.เสนอให้เดินทางออกนอกประเทศ พร้อมกับจะสนับสนุนเงินทองและที่อยู่ให้ โดยบอกว่าจะมีรัฐประหารแน่นอน แต่ไม่อยากให้นักศึกษาลุกขึ้นต่อต้าน แต่กรรมการ ศนท.ตอบปฏิเสธ

27 กรกฎาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวขนาดใหญ่ว่า วางแผนยุบสภาผู้แทน ตั้งสภาปฏิรูปสวมรอยเนื้อข่าวกล่าวว่า บุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยทหาร ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า ข้าราชการ กำลังวางโครงการตั้ง สภาปฏิรูปแห่งชาติเตรียมตัวเพื่อขึ้นมาบริหารงานแทนรัฐบาลเสนีย์

6 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 
คณะรัฐมนตรีประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาคำขอของจอมพลถนอม (ที่จะเดินทางเข้าประเทศ) ปรากฏว่าความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรอนุมัติเพราะจะเป็นเงื่อนไขให้เกิดการชุมนุมขับไล่ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรอนุมัติเพราะจอมพลถนอมมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

10 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

มีข่าวลือว่าจอมพลถนอมเดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่วันรุ่งขึ้นก็มีข่าวว่าจอมพลถนอมทำบุญเลี้ยงพระที่วัดไทยในสิงคโปร์

16 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

มีข่าวแจ้งว่าจอมพลประภาส จารุเสถียร หนึ่งในสามทรราชที่ถูกนักศึกษาประชาชนขับไล่ และหลบหนีออกนอกประเทศไปเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เดินทางกลับเข้าประเทศแล้ว

19 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

นักศึกษาจำนวนหนึ่งจัดขบวนแห่รูปวีรชน 14 ตุลา ไปที่สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาให้ตำรวจดำเนินคดีกับจอมพลประภาส
15.00. นักศึกษาชุมนุมที่ลานโพธิ์ แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะมีคำสั่งห้ามแล้ว
17.00. ศนท.จัดชุมนุมที่สนามหลวง
22.00. นักศึกษาประชาชนประมาณหมื่นคน เคลื่อนขบวนจากสนามหลวงเข้ามายังสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ และมีการชุมนุมกันตลอดคืน

20 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

กรรมการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เปิดอภิปรายที่ลานโพธิ์ ชี้แจงเหตุผลที่ต้องย้ายการชุมนุมเข้ามาในธรรมศาสตร์ การชุมนุมที่สนามฟุตบอลยังดำเนินไปตลอดคืน

21 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

กลุ่มกระทิงแดงเริ่มปิดล้อมมหาวิทยาลัย
14.00. นักศึกษารามคำแหง 3,000 คน เดินขบวนเข้ามาทางประตูมหาวิทยาลัยด้านพิพิธภัณฑ์ กระทิงแดงปาระเบิดและยิงปืนเข้าใส่ท้ายขบวน มีผู้เสียชีวิต 1 คน แต่การชุมนุมยังดำเนินต่อไป
20.30. ฝนตกหนัก กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงยืนหยัดอยู่ในสนามฟุตบอล จนฝนหยุด จึงเคลื่อนเข้าไปในหอประชุมใหญ่ และอยู่ข้างในตลอดคืน

22 สิงหาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

จอมพลประภาสเดินทางออกนอกประเทศ นักศึกษาประชาชนสลายตัว

26 สิงหาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

มีข่าวลือว่าจอมพลถนอมลอบเข้ามาทางจังหวัดสงขลา แต่ไม่เป็นความจริง นายสุธรรม แสงประทุม เลขาศูนย์นิสิตฯ แถลงว่าจอมพลถนอมต้องการกลับมามีอำนาจอีกครั้ง

27 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

อธิบดีกรมตำรวจมีคำสั่งให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องระมัดระวังมิให้จอมพลถนอมเดินทางเข้าประเทศไทย

28 สิงหาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

ท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เดินทางเข้าประเทศไทย โดยแถลงว่าเข้ามาเพื่อปรนนิบัติบิดาของจอมพลถนอม และมารดาของท่านผู้หญิง รวมทั้งเป็นเจ้าภาพงานแต่งงานเพื่อนของบุตรชายด้วย

29 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

บุตรสาวจอมพลถนอม 3 คนเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่บ้านพักซอยเอกมัย เพื่อเจรจาขอให้จอมพลถนอมเข้ามาบวชและรักษาบิดา นายกฯ ขอนำเรื่องเข้าปรึกษา ครม.

30 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

..ยุทธพงษ์ กิตติขจร ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเหตุผลที่จอมพลถนอมขอเดินทางเข้าประเทศไทย

31 สิงหาคม 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรอนุมัติให้จอมพลถนอมเดินทางกลับเข้ามา และ รมช.ต่างประเทศสั่งสถานทูตไทยในสิงคโปร์แจ้งผลการประชุม ครม.ให้จอมพลถนอมทราบ

1 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

นายกรัฐมนตรีเรียกอธิบดีกรมตำรวจและรองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษเข้าพบ เพื่อเตรียมการป้องกันการเดินทางเข้าประเทศของจอมพลถนอม และให้นำเอกสารจากกระทรวงมหาดไทยและกลาโหมเกี่ยวกับการพิจารณาความผิดจอมพลถนอมในกรณี 14 ตุลาคม 2516 มาตรวจสอบ

2 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติติดใบปลิวต่อต้านการเดินทางกลับไทยของจอมพลถนอมตามที่สาธารณะ นายสุธรรม แสงประทุม เลขาศูนย์นิสิตฯ พร้อมด้วยตัวแทน อมธ. สโมสรนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล และแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกันแถลงว่าจะคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอมจนถึงที่สุด

3 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

อธิบดีกรมตำรวจชี้แจงว่าได้เตรียมการป้องกันจอมพลถนอมเดินทางกลับเข้ามาไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้าเข้ามาจะควบคุมตัวทันที

นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ รมต.ยุติธรรม ซึ่งเดินทางกลับจากสิงคโปร์ แถลงว่าหลังจากได้พบและชี้แจงถึงความจำเป็นของรัฐบาลต่อจอมพลถนอมแล้ว จอมพลถนอมบอกว่าจะยังไม่เข้ามาในระยะนี้

นายสมัคร สุนทรเวช รมช.มหาดไทย กล่าวโดยสรุปว่าขณะนี้มีมือที่สามจะสวมรอยเอาการกลับมาของจอมพลถนอมเป็นเครื่องมือก่อเหตุร้าย

4 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

พระภิกษุสงคราม ปิยะธรรมโม ประธานแนวร่วมยุวสงฆ์แห่งประเทศไทย แถลงว่าถ้าจอมพลถนอมบวช แนวร่วมยุวสงฆ์จะถวายหนังสือคัดค้านต่อสมเด็จพระสังฆราชทันที และพระสงฆ์ทั่วประเทศก็จะเคลื่อนไหวคัดค้านด้วย

สภาแรงงานแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์คัดค้านการกลับเข้ามาของจอมพลถนอม

5 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

ในการประชุมตัวแทนของศูนย์นิสิตฯ และของกลุ่มนักเรียน นิสิตนักศึกษา และกรรมกร รวม 67 กลุ่ม ที่ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมงาน 14 ตุลา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม สรุปว่าจะต่อต้านคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอมจนถึงที่สุด

19 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

จอมพลถนอมบวชเณรจากสิงคโปร์ แล้วเดินทางถึงประเทศไทยเวลาประมาณ 10.00. แล้วเดินทางไปวัดบวรนิเวศฯ มีผู้ไปรอต้อนรับเณรถนอมที่ดอนเมือง เช่น พล..ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พล...สุรยุทธ นิวาสบุตร เจ้ากรมการบินพลเรือน พล...นิยม กาญจนวัฒน์ ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง

11.15. จอมพลถนอมอุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วเดินทางไปเยี่ยมอาการป่วยของบิดา

12.00. ข่าวการกลับมาของจอมพลถนอมแพร่ออกไปโดยประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ซึ่งระบุว่าจอมพลถนอมบวชเณรเข้าไทยและบวชเป็นพระเรียบร้อยแล้วที่วัดบวรนิเวศฯ ทางด้านสถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศคำปราศรัยของจอมพลถนอม ซึ่งยืนยันเจตนารมณ์ว่ามิได้มีความมุ่งหมายทางการเมือง พร้อมกันนั้นยานเกราะยังเรียกร้องให้ระงับการต่อต้านพระถนอมไว้ชั่วคราวจนกว่าพระถนอมจะสึก เพื่อมิให้สะเทือนต่อพระศาสนา

สุธรรม แสงประทุม เลขาศูนย์นิสิตฯ แถลงว่าที่ประชุมกลุ่มพลัง 165 กลุ่ม มีมติคัดค้านการกลับมาของจอมพลถนอมและมีท่าทีต่อสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
-          จะคัดค้านการกลับมาของพระถนอมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
-          โฆษณาเปิดโปงความผิดของพระถนอม
-          สืบทอดเจตนารมณ์วีรชน 14 ตุลา
-          ตั้งตัวแทนเข้าพบรัฐบาลเพื่อยื่นข้อเสนอ

ต่อกรณีการเคลื่อนไหว ทาง ศนท.เห็นว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้จำเป็นต้องมีความสุขุม เพราะมีความละเอียดซับซ้อน ประกอบกับมีการนำเอาศาสนาประจำชาติขึ้นมาบังหน้า ฉะนั้น ศนท.จึงจะรอดูท่าทีของรัฐบาลและให้โอกาสรัฐบาลตัดสินใจและดำเนินการก่อน อย่างไรก็ดี ในที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตกันมากว่า
1.   การเข้ามาครั้งนี้เป็นแผนการของกลุ่มบุคคลที่ต้องการทำรัฐประหาร
2.   ก่อนเข้ามามีการเตรียมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง มีบุคคลบางคนในรัฐบาลไปรับถึงสนามบิน และให้ทำการบวชได้ที่วัดบวรนิเวศฯ
3.   การเข้ามาของเณรถนอม อาศัยศาสนามาเป็นเครื่องบังหน้า ทำให้ศาสนาต้องมัวหมอง

ขณะที่ทาง ศนท.กำลังรอดูท่าทีของฝ่ายรัฐบาล ได้เกิดกระแสโจมตีการเคลื่อนไหวของ ศนท.อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสถานีวิทยุยานเกราะ ถึงกับมีการเรียกร้องให้รัฐบาลฆ่าประชาชนสัก 30,000 คนเพื่อคนจำนวนสี่สิบสามล้านคน

วันเดียวกันนี้  ตำรวจได้จับนักศึกษารามคำแหง ชื่อ นายวิชาญ เพชรจำนง ซึ่งเข้าไปในวัดบวรฯ พร้อมแผนที่กุฏิในวัด น...ดาวสยามพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งในตอนเย็นว่า จับ นศ.วางแผนฆ่าถนอมแต่หลังจากนั้นตำรวจได้ปล่อยตัวนายวิชาญไปเพราะนายวิชาญเป็นสมาชิกคนหนึ่งในกลุ่มกระทิงแดง

20 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า ม...เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหัวหน้าพรรคชาติไทย ธรรมสังคม สังคมชาตินิยม และนายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และมีข้อสรุปว่า 1.จอมพลถนอมเข้ามาบวชตามที่ขอรัฐบาลไว้แล้ว 2.ในฐานะที่จอมพลถนอมเป็นทั้งจอมพลและภิกษุจึงน่าจะพิจารณาตัวเองได้หากมีความไม่สงบเกิดขึ้น

มีปฏิกิริยาและความเคลื่อนไหวจากหลายฝ่ายตลอดวันนี้ เช่น ม...คึกฤทธิ์ ปราโมช เสนอให้ออกกฎหมายพิเศษขับพระถนอมออกนอกประเทศ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เสนอให้พระถนอมออกไปจำวัดที่ต่างแดน ทหารออกมาประกาศว่าจะไม่เข้าไปยุ่งและจะไม่ปฏิวัติ พล..ประมาณ อดิเรกสาร กล่าวว่าถ้าพระถนอมเข้ามาถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ จะผิดได้อย่างไร ก็นักศึกษาสู้เพื่อรัฐธรรมนูญไม่ใช่หรือ พระกิตติวุฒโฑ กล่าวว่านักศึกษาต้องการขับไล่พระ มีแต่คอมมิวนิสต์เท่านั้นที่ไล่พระ สถานีวิทยุยานเกราะและ น...ดาวสยาม ออกข่าวโจมตี ศนท. ไม่ให้ประชาชนไปร่วมชุมนุม ฯลฯ

ศนท.ใช้วิธีเคาะประตูบ้านแทนการชุมนุม โดยให้นิสิตนักศึกษาออกไปตามบ้านประชาชนในเขต กทม. เพื่อสอบถามความรู้สึกถึงเรื่องพระถนอม ปรากฏว่าสามารถสร้างความเข้าใจและความตื่นตัวได้อย่างดียิ่ง

21 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

เกิดเหตุปาระเบิดบริษัททัวร์ ที เอส ที ซึ่งบริษัทนี้ถูกสถานีวิทยุยานเกราะออกข่าวว่าเป็นของ ศนท. แต่ปฏิบัติการดังกล่าวพลาดไปถูกร้านตัดเสื้อข้างเคียง มีผู้บาดเจ็บ 5 คน

นักเรียนอาชีวะยกพวกตีกัน ระหว่างช่างกลสยาม (ซึ่งมีนายวีรศักดิ์ ทองประเสริฐ เลขาธิการศูนย์นักเรียนอาชีวะฯ ในขณะนั้นเรียนอยู่) กับช่างกลอุตสาหกรรม มีการปรากฏตัวของกลุ่มกระทิงแดงในที่เกิดเหตุ และมีการปาระเบิดสังหารชนิด เอ็ม 26 ส่งผลให้นักเรียนช่างกลสยามตาย 5 ศพ บาดเจ็บจำนวนมาก และถูกจับอีกประมาณ 200 คน ในขณะที่ช่างกลอุตสาหกรรมไม่โดนจับเลย เพียงแต่สอบสวนแล้วปล่อยตัวไป กรณีนี้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมตำรวจท้องที่กับอาจารย์ในโรงเรียนจึงไม่ยับยั้งนักเรียนช่างกลสยาม และการจับนักเรียนช่างกลสยามไปเท่ากับตัดกำลังหน่วยรักษาความปลอดภัยของแนวร่วมอาชีวศึกษาเพื่อประชาธิปไตย ที่ประกาศต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมกับ ศนท. ออกไปส่วนหนึ่ง

นายอำนวย สุวรรณคีรี แถลงว่า ครม.มีมติแต่งตั้งกรรมการ 2 ชุด ชุดที่ 1 ไปเจรจากับพระถนอม ชุดที่ 2 ออกแถลงการณ์กรณีพระถนอมเข้ามาในประเทศไทย

นายสุรินทร์ มาศดิตถ์ แถลงว่า ครม.มีมติจะให้พระถนอมออกไปนอกประเทศโดยเร็ว

รัฐบาลออกแถลงการณ์ขอความร่วมมือประชาชนในการรักษาความสงบของบ้านเมือง

22 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

แนวร่วมยุวสงฆ์แห่งประทศไทย และสหพันธ์พุทธศาสนิกแห่งประเทศไทย มีหนังสือมาถึงมหาเถรสมาคมให้พิจารณาการบวชของพระถนอมว่าผิดวินัยหรือไม่

พล...ชุมพล โลหะชาละ จัดกำลังตำรวจเข้าอารักขาวัดบวรนิเวศฯ เนื่องจากทางวัดเกรงว่ากลุ่มต่อต้านพระถนอมจะเผาวัด

คณะอาจารย์รามคำแหงยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลนำพระถนอมออกนอกประเทศ

ศนท. แนวร่วมต่อต้านเผด็จการฯ สภาแรงงานฯ ศูนย์กลางนักเรียนฯ ศูนย์นักศึกษาครูฯ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 8 แห่ง แถลงว่า ไม่พอใจที่แถลงการณ์ของรัฐบาลไม่ชัดเจน ดังนั้นทุกองค์กรจะร่วมมือกันคัดค้านพระถนอมต่อไป

แนวร่วมนักเรียน นักศึกษา ประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ สหพันธ์นักศึกษาอีสาน แนวร่วมต่อต้านเผด็จการฯ ออกติดโปสเตอร์ต่อต้านพระถนอมตามสถานที่ต่างๆ

ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติให้ส่งนักศึกษาออกชี้แจงประชาชนว่าการกลับมาของพระถนอมทำให้ศาสนาเสื่อม

23 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

.. 4 ราย คือ นายชุมพล มณีเนตร นายแคล้ว นรปติ นายมานะ พิทยาภรณ์ และนายไพฑูรย์ วงศ์วานิช ยื่นกระทู้ด่วนเรื่องการกลับมาของจอมพลถนอม ผลการอภิปรายทำให้ ม...เสนีย์ ปราโมช ประกาศลาออกกลางสภาผู้แทน เนื่องจากไม่อาจเสนอพระราชบัญญัติจำกัดถิ่นที่อยู่ของบุคคลบางประเภท ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 47 อีกทั้งยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้ ลูกพรรคก็ขัดแย้งโต้เถียงในสภาฯ แบ่งเป็นซ้ายเป็นขวา ส..บางคนก็อภิปรายในลักษณะไม่ไว้วางใจรัฐบาล

กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ มีคำสั่งเตรียมพร้อมในที่ตั้งเต็มอัตราศึก

สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศให้ตำรวจจับกุมนักศึกษาที่ออกติดโปสเตอร์

24 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

01.00. รถจี๊ปและรถสองแถวบรรทุกคนประมาณ 20 คน ไปที่ประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านท่าพระจันทร์ ทำลายป้ายที่ปิดประกาศขับไล่ถนอม

นายเสถียร สุนทรจำเนียร นิสิตจุฬาฯ ถูกตีที่ศีรษะและถูกแทงลำตัว ในขณะที่ออกติดโปสเตอร์พร้อมกับเพื่อนอีก 2 คน ซึ่งถูกทำร้ายและถูกรูดทรัพย์ไปโดยฝีมือชายฉกรรจ์ 20 คนในรถกระบะสีเขียว

นายวิชัย เกษศรีพงษา และนายชุมพร ทุมไมย พนักงานการไฟฟ้านครปฐม และเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ถูกซ้อมตายระหว่างออกติดโปสเตอร์ประท้วงต่อต้านพระถนอม และถูกนำศพไปแขวนคอที่ประตูทางเข้าที่จัดสรรบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม พบมีรอยมัดมือและรอยถูกรัดคอด้วยเชือกไนล่อน ตำรวจสืบสวนบิดเบือนสาเหตุว่ามาจากการผิดใจกับคนในที่ทำงานและติดสินบนนักข่าวท้องถิ่นให้เงียบ แต่มีผู้รักความเป็นธรรมนำรูปประมาณ 20 กว่ารูปพร้อมเอกสารการฆาตกรรมมาให้ ศนท. ในวันที่ 25 กันยายนตอนเช้า

(ในวันที่ 6 ตุลาคม มีตำรวจ 5 คนถูกจับในข้อหาสมคบฆ่าแขวนคอสองพนักงานการไฟฟ้า ได้แก่ ส... ชลิต ใจอารีย์ ส...ยุทธ ตุ้มพระเนียร ส...ธเนศ ลัดดากล ส...แสงหมึก แสงประเสริฐ พลฯ สมศักดิ์ แสงขำ แต่ทั้งหมดถูกปล่อยตัวอย่างเงียบๆ หลังจากนั้น)

25 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ม...เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี (อีกครั้งหลังจากลาออกไปเมื่อ 2 วันก่อน)

ศนท.โดยสุธรรม แสงประทุม และชัชวาลย์ ปทุมวิทย์ ผู้ประสานงานแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ชี้แจงกับสื่อมวลชนกรณีฆ่าแขวนคอที่นครปฐม มีการชุมนุมที่จุฬาฯ  และตั้งตัวแทนยื่นหนังสือเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ 1.จัดการให้พระถนอมออกจากประเทศไทยโดยเร็วที่สุด 2.ให้เร่งจับกุมฆาตกรฆ่าแขวนคอที่นครปฐม

สภาแรงงานฯ โดยนายไพศาล ธวัชชัยนันท์ ขอเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเพื่อยื่นหนังสือ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้า

ดร.คลุ้ม วัชโรบล นำลูกเสือชาวบ้านประมาณ 200 คน ไปวัดบวรนิเวศฯ เพื่ออาสาป้องกันการเผาวัด

26 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

กิตติวุฒโฑภิกขุ และนายวัฒนา เขียววิมล แกนนำกลุ่มนวพล ไปเยี่ยมพระถนอมที่วัดบวรฯ เวลา 22.30. อ้างว่ามาสนทนาธรรม และว่าการเข้ามาบวชของพระถนอมนั้นบริสุทธิ์

27 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

ศนท. สภาแรงงานแห่งประเทศไทย แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และตัวแทนจากกลุ่มพลังต่างๆ ประชุมกันและมีมติให้รัฐบาลขับพระถนอมออกนอกประเทศ และให้จัดการจับฆาตกรสังหารโหดฆ่าแขวนคอที่นครปฐม

ช่วงวันที่ 26-27 กันยายน มีการเคลื่อนไหวย้ายกำลังพลในเขตกรุงเทพฯ ด้วยคำอ้างว่าจะมีการเดินสวนสนามเพื่อสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล (ปกติจะกระทำในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี)

28 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

ศนท.แถลงว่าจะจัดชุมนุมที่สนามหลวงในวันที่ 29 กันยายน เพื่อเร่งรัฐบาลให้ดำเนินการตามที่ยื่นหนังสือเรียกร้อง

29 กันยายน 2519
 ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประกาศเลื่อนพิธีรับพระราชทาปริญญาบัตรออกไปโดยไม่มีกำหนด

ศนท. และกลุ่มพลังต่างๆ นัดชุมนุมประท้วงพระถนอมที่สนามหลวง โดยเป็นการชุมนุมอย่างสงบตามสิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ สุธรรม แสงประทุม กล่าวกับประชาชนว่า การชุมนุมครั้งนี้ได้แจ้งให้นายกฯ ทราบแล้ว และนายกฯ รับปากว่าจะให้กำลังตำรวจคุ้มครองผู้ชุมนุม มีประชาชนมาร่วมชุมนุมประมาณสองหมื่นคน

ระหว่างการชุมนุม มีผู้อ้างตัวว่ารักชาติมาตั้งเครื่องขยายเสียงกล่าวโจมตี ศนท.อย่างหยาบคาย จนตำรวจต้องไปขอร้องให้เลิกและกลับไปเสีย กลุ่มรักชาติพวกนี้จึงยอมกลับไป นอกจากนั้นยังมีการปล่อยงูพิษกลางที่ชุมนุมที่หาดใหญ่และมีการยิงปืนใส่ที่ชุมนุมก่อนสลายตัว (การชุมนุมจัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลาฯ นายจเร ดิษฐแก้ว ถูกยิงที่กกหูบาดเจ็บ นายสมชัย เกตุอำพรชัย นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคภาคใต้ถูกตีศีรษะและถูกยิงที่มือซ้าย)

ศนท.ได้ส่งคนเข้าพบนายกฯ เพื่อขอฟังผลตามข้อเรียกร้องที่เคยยื่นหนังสือไว้ แต่เลขานุการนายกฯ ไม่ให้เข้าพบ กระทั่งเวลาสามทุ่มเศษ นายสุธรรมและคณะจึงกลับมาที่ชุมนุมพร้อมกับกล่าวว่าได้รับความผิดหวังมาก แต่ยืนยันว่าจะสู้ต่อไป และจะให้เวลารัฐบาลถึงเที่ยงวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม ถ้ารัฐบาลยังไม่ตัดสินใจแก้ปัญหานี้ ก็จะเคลื่อนไหวทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดพร้อมกัน ที่ชุมนุมประกาศสลายตัวเมื่อเวลา 21.45.

กลุ่มกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านจำนวนหนึ่งอ้างตัวเข้าอารักขาพระถนอมที่วัดบวรฯ

ในช่วงนี้ นักศึกษาสถาบันต่างๆ เริ่มเคลื่อนไหวโดยรับมติของ ศนท.ไปปฏิบัติ

30 กันยายน 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

รัฐบาลส่งนายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร และนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็นตัวแทนไปนิมนต์พระถนอมออกนอกประเทศ แต่พระถนอมปฏิเสธ

สมเด็จพระญาณสังวร และคณะสงฆ์ผู้ใหญ่ แจ้งให้ตัวแทนรัฐบาลทราบว่า พระบวชใหม่จะไปไหนตามลำพังระหว่างพรรษาไม่ได้ และกำหนดพรรษาจะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 ตุลาคม 2519

...เสนีย์ ปราโมช ยืนยันว่า ข้อเรียกร้องให้พระถนอมออกนอกประเทศนั้น รัฐบาลทำไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ

1 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

มีการชุมนุมที่สนามหลวง แต่เป็นการชุมนุมที่ไม่ยืดเยื้อ เพียงสามทุ่มกว่าๆ ก็เลิกและประกาศให้ประชาชนมาฟังคำตอบรัฐบาลในวันที่ 4 ตุลาคม เวลา 15.30.

ตัวแทนญาติวีรชน 14 ตุลา จำนวน 5 คน อดอาหารประท้วงที่หน้าทำเนียบรัฐบาล จนกว่ารัฐบาลจะให้คำตอบแน่ชัดว่าจะให้พระถนอมออกจากประเทศไทย

นายสมศักดิ์ ขวัญมงคล หัวหน้ากลุ่มกระทิงแดง กล่าวว่า หากมีการเดินขบวนไปวัดบวรนิเวศฯ กระทิงแดงจะอารักขาวัดบวรฯ และขอให้ ศนท.ยุติการเคลื่อนไหว

ขบวนการปฏิรูปแห่งชาติ และกลุ่มพลัง 12 กลุ่ม ร่วมกันออกแถลงการณ์ว่า ศนท.ถือเอากรณีพระถนอมเป็นเครื่องมือก่อความไม่สงบ

2 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

สมาชิกกลุ่มนวพลทั่วประเทศเดินทางเข้ามาที่วัดพระแก้ว และปฏิญาณตนต่อหน้าพระแก้วมรกตเพื่อปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แล้วไปชุมนุมกันที่บริเวณสนามไชย นายวัฒนา เขียววิมล ได้นำกลุ่มนวพลไปวัดบวรฯ อวยพรวันเกิดสมเด็จพระญาณสังวร แล้วกลับไปชุมนุมที่สนามไชยอีกครั้ง เนื้อหาการอภิปรายมุ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ จากนั้นก็เลิกราเดินทางกลับภูมิลำเนา

กลางดึกคืนวันนี้มีคนร้ายยิงปืน เอ็ม 79 เข้าไปยังสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยไทยรัฐฉบับวันที่ 3 ตุลาคม หน้า 4 คอลัมน์ ไต้ฝุ่นเขียนว่า หากเมืองไทยจะมีนายกรัฐมนตรีใหม่อีก ทำนายทายทักกันได้ว่าจะไม่ใช่คนในสกุลปราโมชอีกแล้ว อาจจะเป็นหนึ่งในสามของคนวัย 52 เล็งกันไว้จากสภาปฏิรูป ดร.เชาวน์ ณ ศีลวันต์ เกษม จาติกวณิช หรือประภาศน์ อวยชัย คนนี้ซินแสดูโหงวเฮ้งแล้วบอกว่าฮ้อ

ทางด้านธรรมศาสตร์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์เป็นคณะแรกที่หยุดสอบประท้วง ส่วนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ให้รัฐบาลแก้ไขกรณีพระถนอมโดยด่วน

ศนท.พร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มพลังอื่นๆ จำนวน 10 คนเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อขอคำตอบตามที่ยื่นข้อเรียกร้องไว้ จากนั้นนายสุธรรม แสงประทุม แถลงว่า ได้รับคำตอบไม่ชัดเจน จึงประกาศเคลื่อนไหวคัดค้านต่อไป โดยจะนัดชุมนุมประชาชนทั่วประเทศที่สนามหลวงในวันที่ 4 ตุลาคม

3 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 

ญาติวีรชนที่อดข้าวประท้วงอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาล ย้ายมาประท้วงต่อที่ลานโพธิ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากสถานการณ์ไม่อำนวย ตกเย็นกลุ่มประชาชนรักชาตินำเครื่องขยายเสียงมาโจมตี ศนท.ว่าเป็นคอมมิวนิสต์

นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชุมนุมคัดค้านพระถนอม ขณะที่ตัวแทนกลุ่มนวพลจากจังหวัดต่างๆ ชุมนุมกันที่สนามไชย

4 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

...เสนีย์ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ยอมรับว่ามีตำรวจกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ลงมือฆ่าโหดที่นครปฐม ขณะที่พล...กมล เดชะตุงคะ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่าไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟ้องสามทรราช กรณี 14 ตุลา

ตอนเที่ยงมีการชุมนุมที่ลานโพธิ์ นักศึกษาธรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เข้าสอบ ดร.ป๋วยให้นักศึกษาเลิกชุมนุมและเข้าห้องสอบแต่นักศึกษาไม่ยอม มีการอภิปรายและการแสดงละครเกี่ยวกับกรณีฆ่าแขวนคอพนักงานการไฟฟ้านครปฐม จัดโดยชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถานีวิทยุยานเกราะออกข่าวว่านักศึกษาที่แสดงละครมีใบหน้าคล้ายเจ้าฟ้าชายถูกแขวนคอ

15.30. ศนท. และแนวร่วมต่อต้านเผด็จการฯ ชุมนุมประชาชนอีกครั้งที่สนามหลวง

17.30. มีการก่อกวนจากกลุ่มกระทิงแดง นักเรียนอาชีวะ และกลุ่มประชาชนรักชาติประมาณ 50 คน ติดเครื่องขยายเสียงพูดโจมตี ศนท.โดยนายสมศักดิ์ มาลาดี จนกระทั่งถูกตำรวจจับ (หลัง 6 ตุลา นายสมศักดิ์ได้ไปออกรายการที่สถานีวิทยุยานเกราะ) กระทิงแดงสลายตัวเมื่อเวลาประมาณ 20.15.

18.30. ฝนตกหนัก แต่ท้องสนามหลวงยังมีคนชุมนุมอยู่นับหมื่น

19.30. เพื่อความปลอดภัยจึงย้ายการชุมนุมเข้าธรรมศาสตร์อย่างสงบ พร้อมกับประกาศว่าจะไม่สลายตัวจนกว่าพระถนอมจะออกจากประเทศไทย

21.00. ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความเห็นชอบของนายกสภามหาวิทยาลัยฯ (ดร.ประกอบ หุตะสิงห์) ออกแถลงการณ์สั่งปิดมหาวิทยาลัย

นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 700 คน เดินขบวนต่อต้านพระถนอม แล้วไปชุมนุมที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัด ส่วนที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราสีมา มีนักศึกษาเปิดอภิปรายต่อต้านพระถนอม ที่จังหวัดขอนแก่น นักศึกษาเปิดอภิปรายต่อต้านพระถนอมและมีการเผาหุ่นพระถนอม

5 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ โดยมี ม...เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกฯ

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มเคลื่อนขบวนมุ่งสู่ธรรมศาสตร์ มีการประกาศงดสอบทุกสถาบัน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวใหญ่ที่ทำพร้อมกันทั่วประเทศ ตกเย็น จำนวนผู้ร่วมชุมนุมเพิ่มมากขึ้นนับหมื่นคน จึงย้ายการชุมนุมจากบริเวณลานโพธิ์มายังสนามฟุตบอล

มหาวิทยาลัยรามคำแหงประกาศงดการสอบไล่โดยไม่มีกำหนด
ในตอนเช้า หนังสือพิมพ์ดาวสยาม และบางกอกโพสต์ เผยแพร่ภาพการแสดงล้อการแขวนคอของนักศึกษาที่ลานโพธิ์ โดยพาดหัวข่าวเป็นเชิงว่าการแสดงดังกล่าวเป็นการ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นางนงเยาว์ สุวรรณสมบูรณ์ เข้าแจ้งความต่อนายร้อยเวรสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ให้จับกุมผู้แสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์สยามมกุฎราชกุมาร

9.30. ที่ประชุมสหภาพแรงงาน 43 แห่ง มีมติจะเข้าพบ ม...เสนีย์ ปราโมช เพื่อยื่นข้อเสนอให้พระถนอมออกนอกประเทศ และสภาแรงงานจะนัดหยุดงานทั่วประเทศภายในวันที่ 11 ตุลาคม

10.00. สถานีวิทยุยานเกราะเปิดรายการพิเศษ เสียงของ พ..อุทาร สนิทวงศ์ กล่าวเน้นเป็นระยะว่า เดี๋ยวนี้การชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ไม่ใช่เป็นเรื่องต่อต้านพระถนอมแล้ว หากแต่เป็นเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

13.30. นักศึกษารามคำแหงเตรียมออกเดินทางไปสมทบที่ธรรมศาสตร์ 25 คันรถ

15.30. นักศึกษารามคำแหงที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมคัดค้านพระถนอม ยื่นหนังสือถึงรองอธิการบดีให้มีการสอบไล่ต่อไป

17.30. ..อุทาร ออกประกาศให้คณะกรรมการชมรมวิทยุเสรี และผู้ร่วมก่อตั้งไปร่วมประชุมที่สถานีวิทยุยานเกราะเป็นการด่วน

19.00. ประธานรุ่นลูกเสือชาวบ้าน เขตกรุงเทพฯ ได้ประชุมที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โดยมี พล...เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน และอาคม มกรานนท์ เป็นผู้กล่าวในที่ประชุมว่า จะต่อต้าน ศนท. และบุคคลที่อยู่ในธรรมศาสตร์

20.35. ชมรมวิทยุเสรี ออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า ขณะนี้มีกลุ่มคนก่อความไม่สงบ ได้ดำเนินการไปในทางที่จะทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ มีการนำธงชาติคลุมตัวละครแสดงเป็นคนตายที่ข้างถนนหน้ารัฐสภา มีการใช้สื่อมวลชนที่มีแนวโน้มเอียงเช่นเดียวกับผู้ก่อความไม่สงบ  ลงบทความ  หรือเขียนข่าวไปในทำนองที่จะทำให้เกิดช่องว่างในบวรพุทธศาสนา มีนักศึกษาผู้หนึ่งทำเป็นผู้ถูกแขวนคอ โดยผู้ก่อความไม่สงบที่มีใบหน้าคล้ายกับพระราชวงศ์ชั้นสูงองค์หนึ่ง พยายามแต่งใบหน้าเพิ่มเติมให้เหมือนทั้งนี้พยายามจะแสดงให้เห็นว่า กรณีพระถนอมและผู้ที่ถูกแขวนคอเป็นเพียงข้ออ้างในการชุมนุมก่อความไม่สงบเท่านั้น แต่ความจริงต้องการทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

นับเป็นครั้งแรกที่สถานีวิทยุยานเกราะ และชมรมวิทยุเสรี เรียกกลุ่มนักศึกษาประชาชนที่ธรรมศาสตร์ว่า ผู้ก่อความไม่สงบซึ่งแถลงการณ์ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ชมรมวิทยุเสรีคัดค้านการกระทำดังกล่าวในทุกๆ กรณี ขอให้รัฐบาลจัดการกับผู้ทรยศเหล่านี้โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการนองเลือดอันอาจจะเกิดขึ้น หากให้ประชาชนชุมนุมกันแล้วอาจมีการนองเลือดขึ้นก็ได้นับเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีกล่าวคำว่า อาจมีการนองเลือดขึ้น

21.00. พล...เจริญฤทธิ์ สั่งให้ประธานลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.) แจ้งแก่บรรดา ลส.ชบ.ที่ชุมนุมกันอยู่ ณ บริเวณพระบรมรูปทรงม้าว่า ให้ฟังสถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีก่อนการเคลื่อนไหว

21.30. นายประยูร อัครบวร รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองของ ศนท.ได้แถลงที่ อมธ. พร้อมกับนำ นายอภินันท์ บัวหภักดี นักศึกษาปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ และนายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ นักศึกษาปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ สมาชิกชุมนุมนาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาแสดงความบริสุทธิ์ใจ และกล่าวว่าการแสดงดังกล่าวก็เพื่อแสดงให้เห็นความทารุณโหดร้ายอันเนื่องมาจากการฆ่าแขวนคอที่นครปฐม โดยมีการแต่งหน้าให้เหมือนสภาพศพ และการที่เลือกเอาบุคคลทั้งสองก็เพราะเป็นนักแสดงในมหาวิทยาลัย อีกทั้งตัวเล็กมีน้ำหนักเบา ไม่ทำให้กิ่งไม้หักง่าย การแสดงแขวนคอใช้วิธีผูกผ้าขาวม้ารัดรอบอกและผูกเชือกด้านหลังห้อยกับกิ่งไม้ จึงต้องใส่เสื้อทหารซึ่งมีตัวใหญ่เพื่อบังร่องรอยผ้าขาวม้าให้ดูสมจริง นายประยูรกล่าวว่า ทางนักศึกษาไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมสถานีวิทยุยานเกราะและหนังสือพิมพ์ดาวสยามจึงให้ร้ายป้ายสีบิดเบือนให้เป็นอย่างอื่นโดยดึงเอาสถาบันที่เคารพมาเกี่ยวข้อง…”

21.40. รัฐบาลเสนีย์ออกแถลงการณ์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 แจ้งว่า ตามที่ได้มีการแสดงละครที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ศกนี้ มีลักษณะเป็นการหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์รัชทายาท รัฐบาลได้สั่งให้กรมตำรวจดำเนินการสอบสวนกรณีนี้โดยด่วนแล้ว

สถานีวิทยุยานเกราะและชมรมวิทยุเสรีออกอากาศตลอดคืนเรียกร้องให้ประชาชนและลูกเสือชาวบ้านไปชุมนุมที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจับกุมผู้กระทำการหมิ่นองค์สยามมกุฎราชกุมารมาลงโทษ

24.00. กรมตำรวจประชุมเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย พล...ศรีสุข มหินทรเทพ พล...ชุมพล โลหะชาละ พล...มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น พล...ณรงค์ มหานนท์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกหลายนาย

6 ตุลาคม 2519
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

สถานีวิทยุยานเกราะออกอากาศว่า พล..ประมาณ อดิเรกสาร รองนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นคำขาดต่อ ม...เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ขอให้รัฐบาลดำเนินการตามกฎหมายต่อ ศนท. ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเด็ดขาด หากมีรัฐมนตรีหรือนักการเมืองคนใดเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ก็ให้จับกุมและลงโทษตามกฎหมายทันที

สุธรรม แสงประทุม กับกรรมการ ศนท. และตัวแทนชุมนุมนาฏศิลป์ฯ เดินทางไปขอพบนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ

01.40. กลุ่มคนประมาณ 100 คนได้บุกเข้าไปเผาแผ่นโปสเตอร์หน้าประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้านสนามหลวง กลุ่มคนที่อออยู่หน้าประตูพยายามจะบุกปีนรั้วเข้าไป มีเสียงปืนนัดแรกดังขึ้นและมีการยิงตอบโต้ประปรายแต่ไม่มีใครบาดเจ็บ

02.00. กลุ่มนวพลในนาม ศูนย์ประสานงานเยาวชนมีแถลงการณ์ความว่า ขอให้รัฐบาลจับกุมกรรมการ ศนท. ภายใน 72 ชั่วโมง หากรัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติได้ นวพลจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด

03.00. สถานีวิทยุยานเกราะยังคงออกรายการ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพตลอดทั้งคืน ส่วนภายในธรรมศาสตร์ยังมีการอภิปรายและแสดงดนตรีต่อไปแม้จะมีผู้พยายามบุกเข้ามหาวิทยาลัยและมีเสียงปืนดังขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ของ ศนท. ขึ้นอภิปรายบนเวทีขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ใช้อาวุธ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น เจ้าหน้าที่หน่วยปราบจราจลยกกำลังมากั้นทางออกด้านสนามหลวง

05.00. กลุ่มคนที่ยืนอออยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัยพยายามจะบุกปีนเข้าไปอีกครั้ง ยังคงมีการยิงตอบโต้ด้วยปืนพกประปราย

07.00. กลุ่มคนที่อออยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัยตั้งแต่ตอนตีหนึ่งพยายามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยโดยใช้รถบัสสองคันขับพุ่งเข้าชนประตู ต่อมาก็มีเสียงระเบิดดังขึ้น

07.50. ตำรวจหน่วยคอมมานโด หน่วยปฏิบัติการพิเศษ (นปพ.) และตำรวจท้องที่ ล้อมอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย โดยมี พล...ชุมพล โลหะชาละ พล...เสน่ห์ สิทธิพันธ์ และพล...ยุทธนา วรรณโกวิท มาถึงที่เกิดเหตุและเข้าร่วมบัญชาการ

08.10. พล...เสน่ห์ สิทธิพันธ์ บัญชาการให้ตำรวจตระเวชายแดน (ตชด.) อาวุธครบมือบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตชด.มีอาวุธสงครามใช้ทุกชนิด ตั้งแต่เครื่องยิงระเบิด ปืนต่อสู้รถถัง ปืนเอ็ม 79 ปืนเอ็ม 16 ปืนเอช.เค. และปืนคาร์บิน ตำรวจบางคนมีระเบิดมือห้อยอยู่ครบเต็มอัตราศึก เสียงปืนดังรุนแรงตลอดเวลา ตำรวจประกาศให้นักศึกษายอมจำนน นักศึกษาหลายคนพยายามวิ่งออกมาข้างนอก จึงถูกประชาชนที่อยู่ภายนอกรุมประชาทัณฑ์ นักศึกษาประชาชนที่ชุมนุมอยู่ข้างในแตกกระจัดกระจายหลบหนีกระสุน

08.18. ตชด.เข้าประจำการแทนตำรวจท้องที่ และมีกำลังใหม่เข้ามาเสริมอีก 2 คันรถ

08.25. ตชด.บุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยหลายจุด พร้อมกับยิงกระสุนวิถีโค้ง และยิงกราดเข้าไปยังกลุ่มนักศึกษาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก มีนักศึกษาถูกยิงบาดเจ็บและเสียชีวิตทันทีหลายคน (ไทยรัฐ 7 ตุลาคม 2519)

08.30-10.00. นักศึกษาและประชาชนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยตลอดคืนต่างแตกตื่นวิ่งหนีวิถีกระสุนที่ ตชด.  และกลุ่มคนที่เข้าก่อเหตุได้ยิงเข้าใส่ฝูงชนอย่างไม่ยั้ง ทั้งๆ ที่หน่วยรักษาความปลอดภัยของนักศึกษามีปืนพกเพียงไม่กี่กระบอก

นักศึกษาประชาชนที่แตกตื่นวิ่งหนีออกไปทางหน้าประตูมหาวิทยาลัยในจำนวนนี้มีมากกว่า 20 คนถูกรุมตีรุมกระทืบ บางคนถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัส แต่ยังไม่สิ้นใจ ได้ถูกลากออกไปแขวนคอ และแสดงท่าทางเยาะเย้ยศพต่างๆ นานา

นักศึกษาหญิงคนหนึ่งถูกรุมตีจนสิ้นชีวิต แล้วถูกเปลือยผ้าประจาน  โดยมีชายคนหนึ่งซึ่งเข้าก่อเหตุ  รูดซิปกางเกงออกมาแสดงท่าเหมือนจะข่มขืนหญิงผู้เคราะห์ร้ายนั้น  ให้พวกพ้องที่โห่ร้องอยู่ใกล้ๆ ดู   มีประชาชนบางส่วนเมื่อเห็นเหตุการณ์ชวนสังเวช  ก็จะเดินเลี่ยงไป ด้วยน้ำตาคลอ

 ประชาชนที่ชุมนุมอยู่หน้าประตูมหาวิทยาลัย ลากศพนักศึกษาที่ถูกทิ้งอยู่เกลื่อนกลาดข้างหอประชุมใหญ่ 3 คนออกมาเผากลางถนนราชดำเนิน ตรงข้ามอนุสาวรีย์พระแม่ธรณีบีบมวยผม ใกล้ๆ กับบริเวณแผงขายหนังสือสนามหลวง โดยเอายางรถยนต์ทับแล้วราดน้ำมันเบนซิน จุดไฟเผา ศพนักศึกษาอีก 1 ศพถูกนำไปแขวนคอไว้กับต้นมะขามแล้วถูกตีจนร่างเละ

เหตุการณ์ในและนอกธรรมศาสตร์ช่วงนี้มีรายละเอียดมากมาย ดังปรากฏจากคำพูดของผู้ประสบเหตุการณ์คนหนึ่งในวันนั้น ดังต่อไปนี้

ในเช้าวันที่ 6 ตุลา ขณะที่ฉันนอนอยู่ตรงบันไดตึกวารสารฯ ก็ได้ยินเสียงระเบิดดังขึ้น ฉันและเพื่อน 2 คนเดินออกมาดูเหตุการณ์ยังสนามฟุตบอล จึงทราบว่าพวกตำรวจได้ยิง เอ็ม 79 เข้ามาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีคนตายและบาดเจ็บหลายคน เพื่อความปลอดภัย โฆษกบนเวทีประกาศให้ประชาชนหลบเข้าข้างตึก ฉันและเพื่อนยืนฟังอยู่พักหนึ่ง พวกทหารก็เริ่มระดมยิงเข้ามาในธรรมศาสตร์ทุกด้านเป็นเวลานาน ฉันกับเพื่อนจึงหมอบอยู่บริเวณข้างตึกโดมข้างๆ เวที ภาพที่เห็นข้างหน้าคือ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่มีควันตลบไปหมด พวกมันระดมยิงถล่มมายังหน้าหอใหญ่เป็นเวลานาน พวกเราหลายคนถึงกับร้องไห้ด้วยความเคียดแค้น และเป็นห่วงเพื่อนๆ ของเราที่รักษาความปลอดภัยอยู่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน แต่พวกตำรวจระดมยิงเข้ามาเหมือนจะทำลายคนจำนวนพันคน ตำรวจยิงเข้ามาพักหนึ่ง เมื่อแน่ใจว่าพวกเราที่หน้าหอใหญ่ตายหมดแล้ว มันจึงกล้าเอารถเมล์วิ่งพังประตูเข้ามาในธรรมศาสตร์

เมื่อเห็นว่าเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น พวกเราจึงช่วยกันพังประตูตึกโดมเข้าไป ตอนแรกคิดว่าอยู่ในตึกคงปลอดภัย แต่เมื่อเห็นว่าพวกมันยังยิงเข้ามาไม่หยุดและเคลื่อนกำลังเข้ามามากขึ้น จึงตัดสินใจกระโดดลงจากตึกโดมแล้ววิ่งไปตึกศิลปศาสตร์และลงแม่น้ำเจ้าพระยา ฉันและเพื่อนๆ ได้ขึ้นฝั่งที่ท่าพระจันทร์ ปรากฏว่าพวกตำรวจตรึงกำลังอยู่บริเวณดังกล่าว และปิดถนนถึงท่าช้าง ประชาชนบริเวณท่าพระจันทร์ปิดประตูหน้าต่างกันหมด พวกเราเดินเลาะไปตามริมน้ำ พอมาระยะหนึ่งไม่มีทางไป เพื่อนบางส่วนพอวิ่งออกไปถนนก็ถูกตำรวจจับ ฉันและเพื่อนจึงตัดสินใจเคาะประตูบ้านประชาชนบริเวณนั้น มีหลายบ้านเปิดให้พวกเราเข้าไปหลบด้วยความเต็มใจ เนื่องจากจำนวนคนมีมากเหลือเกิน เพื่อนของเราบางส่วนยอมเสียสละให้ผู้หญิงและประชาชนเข้าไปหลบในบ้านประชาชน ในบ้านที่ฉันเข้าไปหลบอยู่มีคนประมาณ 30 คนอยู่ด้วย เจ้าของบ้านต้มข้าวต้มให้พวกเรากิน ฉันนั่งฟังเสียงปืนที่พวกมันยิงถล่มธรรมศาสตร์อยู่ประมาณชั่วโมงเศษ มีทหารและตำรวจ 2 คนมาเคาะประตูบ้าน มันขู่ว่าถ้าไม่เปิดจะยิงเข้ามา เจ้าของบ้านจึงต้องไปเปิดให้พวกตำรวจเข้ามาตรวจค้นบ้านทุกชั้น ทุกห้องตามความต้องการ

พวกเราถูกตำรวจไล่ให้มารวมกับคนอื่นๆ ที่ถูกจับอยู่ก่อนแล้วที่ถนนข้างวัดมหาธาตุ นอนกันเป็นแถวยาวมาก ตำรวจสั่งให้ผู้ชายถอดเสื้อ ทุกคนต้องนอนอยู่นิ่งๆ ห้ามเงยหัวขึ้นมา พวกเราต้องนอนอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ต้องทนตากแดดอยู่กลางถนน และยังมีกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านที่ร้ายกาจหลายคนเดินด่าว่าพวกเราอย่างหยาบคาย ทั้งพูดท้าทายและข่มขู่อยู่ตลอดเวลา เราต้องเผชิญกับการสร้างสถานการณ์ข่มขู่ทำลายขวัญของพวกตำรวจ โดยสั่งให้พวกเรานอนคว่ำหน้าและไล่ประชาชนออกจากบริเวณนั้น แล้วยิงปืนรัวสนั่นจนพอใจจึงหยุด ฉันนอนอยู่ริมๆ แถวรู้สึกว่ากระสุนวิ่งไปมาบนถนน ไม่ห่างไกลจากเท้าฉันนัก บางครั้งก็มีเศษหินเศษอิฐกระเด็นมาถูกตามตัวพวกเรา แทนที่พวกตำรวจจะทำลายขวัญพวกเราสำเร็จ กลับเสริมความเคียดแค้นให้กับพวกเราทุกคน เหมือนฉันได้ผ่านเตาหลอมที่ได้ทดสอบความเข้มแข็งและจิตใจที่ไม่สะทกสะท้านต่อการข่มขู่ บางคนรู้สึกกลัว พวกเราก็คอยปลอบใจ ไม่ให้กลัวการข่มขู่ พวกมันทำเช่นนี้อยู่หลายครั้งจนพอใจ จึงสั่งให้พวกเราคลานไป สักพักหนึ่งมันก็ตะคอกสั่งให้หมอบลง จนถึงรถเมล์ที่จอดอยู่ใกล้ๆ ก็ให้ลุกขึ้นเข้าแถวทยอยกันขึ้นรถ

พวกเรานั่งกันเต็มรถทั้งที่นั่งและพื้นรถ ตำรวจสั่งให้พวกเราเอามือไว้บนหัวและต้องก้มหัวลงต่ำๆ  พอรถแล่นออกมายังสนามหลวงผ่านราชดำเนินจะมีกระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านตั้งแถวรออยู่ พอรถมาถึงมันก็ขว้างก้อนอิฐก้อนหินและโห่ร้องด้วยความชอบใจ พวกเราในรถหลายคนหัวแตก บางคนถูกหน้าผากเลือดไหลเต็มหน้า พวกตำรวจที่คุมมาก็คอยพูดจาเยาะเย้ยถากถางและตะคอกด่าพวกเรามาตลอดทางจนถึงบางเขน พอรถเลี้ยวเข้ามาบางเขนก็มีตำรวจเอาเศษแก้วขว้างเข้ามาในรถ แต่โชคดีที่ไม่ถูกใครเข้า เมื่อรถวิ่งเข้ามาจอดที่เรือนจำก็มีตำรวจกลุ่มหนึ่งวิ่งเข้ามาล้อมรถไว้ บางส่วนกรูเข้าในรถ ทั้งด่า ทั้งเตะ ซ้อมคนในรถตามชอบใจ คนไหนใส่แว่นมันยิ่งซ้อมหนัก บางคนถูกมันกระชากเอาแว่นไปด้วย พวกมันสั่งให้ทุกคนถอดนาฬิกาและสร้อยคอให้หมด ผู้ชายต้องถอดเข็มขัดออก มันอ้างว่าเดี๋ยวพวกเราจะเอาไปผูกคอตายในคุก คนไหนไม่ทำตามมันก็เอาท้ายปืนตี มันทำตัวยิ่งกว่าโจร ยิ่งกว่าสัตว์ป่าอีกด้วย

ฉันและเพื่อนหญิงประมาณ 400 คน ถูกขังอยู่ชั้น 2 ของเรือนจำ มีอยู่ 2 ห้อง ห้องหนึ่งจุคน 200 กว่าคน สภาพในคุกทั้งสกปรก ทั้งคับแคบ ต้องนอนเบียดเสียดกัน น้ำก็ไม่มีให้ใช้ ในระยะแรกน้ำก็ไม่มีให้กิน พวกเราทุกคนที่อยู่ในคุกได้จัดตั้งกันเป็นกลุ่มๆ ตามแต่ละองค์กรเพื่อช่วยเหลือกัน จัดให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือ เช่น เล่าแลกเปลี่ยนเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลา ที่แต่ละคนได้พบเห็นความทารุณโหดร้ายของ ตชด. ตำรวจ กระทิงแดง และลูกเสือชาวบ้าน ที่ร่วมกันเข่นฆ่าเพื่อนๆ และพี่น้องประชาชนอย่างโหดเหี้ยม….


เหตุการณ์น่าสังเวชที่มีรายละเอียดยังมีอีกมาก ดังส่วนหนึ่งกระจายเป็นข่าวไปทั่วโลก ดังเช่น

นีล ยูลิวิค ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่อยู่ในเหตุการณ์ได้รายงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ เดอะ รียิสเตอร์ วันที่ 8 ตุลาคม 2519 ว่า ด้วยความชำนาญในการสื่อข่าวการรบในอินโดจีนแล้ว ข้าพเจ้าสามารถบอกได้ว่าเสียงปืนที่ได้ยินนั้น 90% ยิงไปในทิศทางเดียวกัน คือยิงใส่นักศึกษา บางครั้งจึงจะมีกระสุนปืนยิงตอบมาสักนัดหนึ่ง

เลวิส เอ็ม ไซมอนส์ รายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ ซานฟรานซิสโก ครอนิเกิล วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ว่า หน่วยปราบปรามพิเศษต่างก็กราดปืนกลใส่ตัวอาคารและส่วนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย พวกแม่นปืนที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษใช้ปืนไรเฟิลแรงสูงยิงเก็บเป็นรายตัว ตำรวจพลร่มกลุ่มหนึ่งสวมหมวกเบเร่ต์ดำ เสื้อแจ๊คเก็ตดำคลุมทับชุดพรางตาสีเขียวได้ยิงไปที่อาคารต่างๆ ด้วยปืนไร้แรงสะท้อนยาว 8 ฟุต ซึ่งปกติเป็นอาวุธต่อสู้รถถัง ส่วนตำรวจคนอื่นๆ ก็ยิงลูกระเบิดจากเครื่องยิงประทับไหล่ ไม่มีเวลาใดเลยที่ตำรวจจะพยายามให้นักศึกษาออกมาจากที่ซ่อนด้วยแก๊สน้ำตา หรือเครื่องควบคุมฝูงชนแบบมาตรฐานอื่นๆไซมอนส์ได้อ้างคำพูดของช่างภาพตะวันตกคนหนึ่งที่ชาญสนามมา 4 ปีในสงครามเวียดนาม ซึ่งกล่าวว่า พวกตำรวจกระหายเลือด มันเป็นการยิงที่เลวร้ายที่สุดที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา

สำนักข่าวเอพี (แอสโซซิเอเต็ด เพรส)รายงานจากผู้สื่อข่าวประจำประเทศไทยว่า นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ถูกล้อมยิงและถูกบุกทำร้ายจากพวกฝ่ายขวาประมาณ 10,000 คน ตำรวจระดมยิงด้วยปืนกลใส่นักศึกษาที่ถูกหาว่าเป็นฝ่ายซ้าย นักศึกษา2 คนถูกแขวนคอและถูกตีด้วยท่อนไม้ ถูกควักลูกตา และถูกเชือดคอ

นายจี แซ่จู ช่างภาพของเอพี กล่าวว่า เขาเห็นนักศึกษา 4 คนถูกลากออกไปจากประตูธรรมศาสตร์ถึงถนนใกล้ๆ แล้วถูกซ้อม ถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วเผา

หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิส ไทมส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์รายงานจากผู้สื่อข่าวของตนในกรุงเทพฯ ว่า กระแสคลื่นตำรวจ 1,500 คนได้ใช้ปืนกลระดมยิงนักศึกษาในธรรมศาสตร์ พวกฝ่ายขวาแขวนคอนักศึกษา 2 คน จุดไฟเผา ตีด้วยท่อนไม้ ควักลูกตา เชือดคอ บางศพนอนกลิ้งกลางสนามโดยไม่มีหัว

หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 รายงานว่ามีนักศึกษาอย่างน้อย 4 คนพยายามหลบรอดออกมาข้างนอกมหาวิทยาลัย แต่แล้วก็ถูกล้อมกรอบด้วยพวกตำรวจ และพวกสนับสนุนฝ่ายขวาเข้ากลุ้มรุมซ้อมและทุบด้วยท่อนไม้จนถึงแก่ความตาย นักศึกษาบางคนมีเลือดไหลโชกศีรษะและแขน เดินโซเซออกมาจากมหาวิทยาลัยแล้วก็ล้มฮวบลง

สำนักข่าวอินเตอร์นิวส์ ผู้พิมพ์วารสารอินเตอร์เนชั่นแนล บุลเลทิน รายงานว่าตำรวจได้ใช้ปืนกล ลูกระเบิดมือ ปืนไร้แรงสะท้อน ระดมยิงนักศึกษาในมหาวิทยาลัย นักศึกษาหลายคนถูกจับตัวและถูกราดน้ำมันเบนซินแล้วจุดไฟเผา คนอื่นๆ บ้างก็ถูกซ้อม บ้างก็ถูกยิงตาย ผู้อยู่ในธรรมศาสตร์ขอร้องให้ตำรวจหยุดยิง ตำรวจก็ไม่หยุด ขอให้หยุดชั่วคราวเพื่อให้ผู้หญิงที่อยู่ในมหาวิทยาลัยมีโอกาสหนีออกไป ตำรวจก็ไม่ฟัง

11.00. หลังจากตำรวจบุกยึดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว นักศึกษาประชาชนถูกสั่งให้นอนคว่ำ แล้วควบคุมตัวไว้ทยอยลำเลียงขึ้นรถเมล์และรถสองแถวส่งไปขังตามสถานีตำรวจต่างๆ (มี 3 แหล่งใหญ่ๆ ได้แก่ นครปฐม ชลบุรี และร..ตำรวจนครบาลบางเขน) มากกว่า 3,000 คน ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวอยู่นั้น นักศึกษาชายและหญิงถูกบังคับให้ถอดเสื้อ นักศึกษาหญิงเหลือแต่เสื้อชั้นใน ถูกสั่งให้เอามือกุมหัว นอนคว่ำคลานไปตามพื้น ระหว่างที่คลานไปตามพื้นก็ถูกเตะถีบจากตำรวจ ระหว่างขึ้นรถก็ถูกด่าทออย่างหยาบคายและถูกขว้างปาเตะถีบจากตำรวจและอันธพาลกระทิงแดง ลส.ชบ. ระหว่างลงจากรถไปยังที่คุมขังก็ถูกตำรวจปล้นชิงทรัพย์สินและของมีค่าไป

กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้กำชับการอยู่เวรยาม ให้เจ้าหน้าที่สื่อสารคอยรับฟังข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสดับตรับฟังข่าวในเขตจังหวัด ป้องกันการก่อวินาศกรรมสถานที่ราชการ และหาทางยับยั้งอย่าให้นักเรียนนิสิตนักศึกษาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ

กทม.สั่งปิดโรงเรียนในสังกัดโดยไม่มีกำหนด กระทรวงศึกษาธิการสั่งปิดโรงเรียนในสังกัดถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2519 กระทรวงยุติธรรมสั่งหยุดศาลต่างๆ 1 วัน

11.50. สำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้ตั้งกองบัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล

12.00. รัฐบาลออกแถลงการณ์สรุปได้ว่า
1.   เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสยามมกุฎราชกุมารได้แล้ว 6 คน จะดำเนินการส่งฟ้องศาลโดยเร็ว
2.   เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าควบคุมสถานการณ์การปะทะกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว
3.   รัฐบาลได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายโดยเด็ดขาด

12.30. กลุ่มลูกเสือชาวบ้านและประชาชนจำนวนหลายหมื่นคนชุมนุมอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีการพูดกลางที่ชุมนุม โดยนายอุทิศ นาคสวัสดิ์ ให้ปลดรัฐมนตรี 4 คน คือนายสุรินทร์ มาศดิตถ์ นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ นายชวน หลีกภัย และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยแต่งตั้งให้นายสมัคร สุนทรเวช และนายสมบุญ ศิริธร อยู่ในตำแหน่งเดิมต่อไป ในที่ชุมนุมมีการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการกับผู้ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อย่างเฉียบขาด

นิสิตจุฬาฯ ประมาณ 3,000 คน ชุมนุมกันภายในบริเวณมหาวิทยาลัย นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ นายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ชี้แจงถึงเหตุการณ์จราจลที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 1. เรียกร้องให้นิสิตจุฬาฯ ออกชี้แจงกับประชาชนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 2. เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด 3. ยืนยันว่าหากเกิดรัฐประหาร พวกตนจะต่อสู้ถึงที่สุด 4. ยืนหยัดในการขับพระถนอมออกนอกประเทศ

บ่ายวันนั้นมีการประชุม ครม.นัดพิเศษ พล...ศรีสุข มหินทรเทพ และพล...ชุมพล โลหะชาละ รองอธิบดีกรมตำรวจ เข้าชี้แจงเหตุการณ์ต่อที่ประชุม ครม.

14.20. ประชาชนและลูกเสือชาวบ้านที่ชุมนุมอยู่ ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าส่วนหนึ่ง ประมาณ 4,000 คน เคลื่อนขบวนไปทำเนียบรัฐบาล และส่งตัวแทน 5 คนเข้าพบนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ปรับปรุง ครม. และดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องกับการแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะพิจารณาดำเนินการ

17.00. ประชาชนและลูกเสือชาวบ้านที่ชุมนุมอยู่สลายตัว

18.00. พล...สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ประกาศยึดอำนาจ ความว่า ขณะนี้ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศตั้งแต่เวลา 18.00 . ของวันที่ 6 ตุลาคม เป็นต้นไป และสถานการณ์ทั้งหลายตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน…” โดยมีเหตุผลในการยึดอำนาจการปกครอง คือ “…คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้ประจักษ์แจ้งถึงภัยที่ได้เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือ ได้มีกลุ่มบุคคลซึ่งประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาบางกลุ่ม ได้กระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีเจตจำนงทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนของคอมมิวนิสต์ที่จะเข้ายึดครองประเทศไทย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการเข้าจับกุมก็ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธร้ายแรงที่ใช้ในราชการสงคราม โดยร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ชาวเวียดนามต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

สรุปความเสียหายจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ตามตัวเลขทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 39 คน บาดเจ็บ 145 คน (ในจำนวนนี้เป็นตำรวจเสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 23 คน) นักศึกษาประชาชนถูกจับกุม 3,094 คน เป็นชาย 2,432 คน หญิง 662 คน ขณะที่แหล่งข่าวอ้างอิงจากการเก็บศพของเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณว่ามีนักศึกษาประชาชนเสียชีวิต 530 คน ส่วนทรัพย์สิน (จากการสำรวจของคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มีครุภัณฑ์และวัสดุของคณะต่างๆ เสียหายเป็นมูลค่า 50 กว่าล้านบาท ร้านสหกรณ์มีสินค้าและทรัพย์สินเสียหาย 1 ล้าน 3 แสนบาท สิ่งของมีค่าหายสาบสูญ อาทิ โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูป เทปบันทึกเสียง เครื่องเย็บกระดาษ เสื้อผ้า เงินสด รายงานแจ้งว่า หน้าต่างถูกทุบและโดนลูกกระสุนเสียหาย โต๊ะเก้าอี้พัง ห้องพักอาจารย์ถูกรื้อค้นกระจัดกระจาย












24 สิงหาคม 2520
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

อัยการศาลทหารกรุงเทพฯ พิจารณาสำนวนสอบสวนแล้ว มีคำสั่งฟ้องนักศึกษาและประชาชนเป็นผู้ต้องหาจำนวน 18 คน

16 กันยายน 2521
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

ผู้ต้องหาคดี 6 ตุลา ทั้ง 18 คน ได้รับการนิรโทษกรรม พร้อมกับผู้ต้องหาในศาลอาญาอีก 1 คน คือนายบุญชาติ เสถียรธรรมมณี ทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ

18 กันยายน 2521
ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  

สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สมธ.) ร่วมกับสโมสรนักศึกษา 8 แห่ง จัดงานรับขวัญ ผู้บริสุทธิ์ 6 ตุลาที่ลานโพธิ์





ภูมิหลังแห่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 
วิชัย พรหมเมตตา